2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ สีธรรมชาติจากดินลุ่มน้ำโขง ตำบลเมืองหมี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายสู่ผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 กันยายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจําปี 2565 (FAR8) ศิลป์ท้า เวลา ท้าศิลป์ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 กันยายน 2565 
     ถึง 4 กันยายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 324-339 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการย้อมสีธรรมชาติจากดินลุ่มน้ำโขง และนำไปทดลองย้อมสีธรรมชาติใน ตำบลเมืองหมี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือในงานวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ โดยรวบรวมข้อมูลด้านเอกสาร และข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ตำบลเมืองหมี อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย จากกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้เกี่ยวข้องกับการย้อมสีธรรมชาติจากดิน โดยการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามทฤษฎีนิเวศน์วิทยาวัฒนธรรม แนวความคิดเกี่ยวกับปฐพีวิทยา แนวความคิดการออกแบบ และนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ พร้อมนำเสนอด้วยวิธีการพรรณาวิเคราะห์ จากการนำดินตำบลเมืองหมี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มาใช้ในการทดลองย้อมสีสิ่งทอเส้นใยธรรมชาติ พบว่า ดินมีสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินเป็นดินเหนียว ซึ่งอยู่ในกลุ่มของอนุภาคดินที่ทำให้รู้สึกลื่นมือและเหนียว ส่วนสีที่ได้เป็นสีน้ำตาล เมื่อนำมาทดลองย้อมเส้นใยฝ้าย พบว่า เส้นใยฝ้ายมีการดูดซึมสีของดินได้ปานกลาง สีที่ได้คือ สีน้ำตาลอมส้ม หลังจากใช้สารฝาด หรือ น้ำต้มเปลือกประดู่เป็นสารช่วย้อมทำให้สีของดินคงความเป็นสีน้ำตาลอมส้มเช่นเดิม แต่ระดับของสีมีความเข้มขึ้น เมื่อนำไปทอเป็นผืนผ้า ทำให้ได้สีของผ้าเป็นสีน้ำตาลธรรมชาติ และมีความสม่ำเสมอสวยงาม จากนั้นผู้วิจัยได้นำไปออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอโดยมีผลสรุปการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ พบว่า มีการประยุกต์ใช้วัสดุธรรมดาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งได้ผลิตภัณฑ์ 2 ชิ้น ชิ้นที่ 1 คือ โคมไฟสำหรับตกแต่งผนัง ขนาด 120 x 64 เซนติเมตร และชิ้นที่ 2 คือ โคมไฟสำหรับแขวาน ขนาด 74 x 120 เซนติเมตร จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์สิ่งทอนี้สามาถเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอย้อมสีธรรมชาติได้มากขึ้น 
ผู้เขียน
637220012-4 น.ส. ชนัญญา คงยืน [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum