2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในจังหวัดหนองคาย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 20 กรกฎาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 30 
     ฉบับที่ เพิ่มเติม 
     เดือน สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา : โรคไตจากเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุการเกิดโรคไตเรื้อรังพบหลายปัจจัย โดยการสูบบุหรี่กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ : เพื่อหาอุบัติการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดหนองคาย วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า (Analytical retrospective cohort study) ข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพจังหวัดหนองคาย (Health Data Center : HDC) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 โดยทุกรายหลังการวินิจฉัยจนกระทั่งเกิดโรคไตเรื้อรัง ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 จำนวน 3,270 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยสถิติโมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไป (Generalized Linear Model: GLM) นำเสนอค่า adjusted RR พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา : ภาพรวมอัตราอุบัติการณ์การเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดหนองคาย 5.1 ต่อ 100 คน-ปี (ช่วงเชื่อมั่น 95%; 4.4 ถึง 5.9) และยังพบว่าผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ (ปัจจุบันยังสูบ) มีอัตราอุบัติการณ์เกิดโรคไตเรื้อรังเป็น 8.8 ต่อ 100 คน-ปี (ช่วงเชื่อมั่น 95%; 6.9 ถึง 11.0) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรที่เหลือในสมการสุดท้ายแล้ว พบว่า ผู้ที่เคยสูบบุหรี่แต่เลิกแล้วมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังเป็น 3.99 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (adjusted RR = 3.99 ; ช่วงเชื่อมั่น 95%: 2.67 – 5.96) , สูบ(ปัจจุบันยังสูบ) มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังเป็น 4.10 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (adjusted RR = 428 ; ช่วงเชื่อมั่น 95% : 2.73 – 6.16) โดยการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับการเกิดโรคไตเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value for trend < 0.001) สรุปและข้อเสนอแนะ : การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่พบอุบัติการณ์ต่ำในการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรได้รับการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรัง ในการรับรู้และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตนเองรวมทั้งการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังได้ดียิ่งขึ้น 
     คำสำคัญ สูบบุหรี่ , โรคไตเรื้อรัง , โรคเบาหวานชนิดที่ 2 
ผู้เขียน
645110070-0 นาย คมกริช ศรีชาดา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0