2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวทางการปรับปรุงอาคารตามมาตรฐานอาคารเขียว กรณีศึกษาอาคารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 สิงหาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร Journal of Modern Learning Development 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่ บจก. พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 15 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ ตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 6/2557 เรื่องพันธกิจและนโยบายในการบริหารและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ.2558-2562) การกำหนดเสาหลักของยุทธศาสตร์ (Strategic Pillar) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 4 เสาหลัก เสาหลักที่ 1 : Green and Smart Campus เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการอย่างชาญฉลาด ที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เสาหลักที่ 2 : Excellent Academy ความเป็นเลิศทางศิลปวิทยาการ เสาหลักที่ 3 : Culture and Care Community เป็นองค์กรที่ห่วงใยและดูแลชุมชน รวมทั้งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม และ เสาหลักที่ 4 : Creative Economy and Society เป็นองค์กรที่สร้างองค์ความรู้ตามพันธกิจสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเชิงสร้างสรรค์ จากยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เสาหลักที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ทางผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะใช้อาคารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากอาคารมีการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2548 มีค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 292,569 kWh/years ค่าดัชนีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 23.47 kWh/m2-y ซึ่งมีแนวโน้มการใช้พลังงานมากขึ้นเนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง มีค่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงได้นำเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย Thai Green Building Institute (TGBI) สำหรับอาคารระหว่างใช้งาน มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้ทราบระดับคะแนนประเมินในปัจจุบันและหามาตรการที่เหมาะสมและคุ้มค่าทางเศรษศาสตร์ในการลงทุน การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย (สำหรับอาคารระหว่างใช้งาน) วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากการประเมินเบื้องต้นทั้ง 8 หัวข้อ ระดับคะแนน ไม่ผ่านข้อคะแนนบังคับในหัวข้อ BM P1 การเตรียมความพร้อมความเป็นอาคารเขียว (บังคับ) มีคะแนนรวมอยู่ที่ 34 คะแนน ระดับคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ (Certified 35-44 คะแนน) และจากการวิเคราะห์และจำลองค่าการใช้พลังงานของอาคารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น โดยใช้โปรแกรม BEC V1.0.6 มีค่า OTTV อยู่ที่ 102.91 W/m2 ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน Building Energy Code, BEC กลุ่มที่ 1 ประเภทอาคารสถานศึกษา ≤50 W/m2 โดยผู้จัดทำกำหนดแนวทางปรับปรุง 2 รูปแบบ 1. แนวทางปรับปรุงคะแนนอาคารตามเกณฑ์อาคารเขียว รูปแบบที่ 2 แนวทางการปรับปรุงกรอบอาคาร ให้ได้ค่ามาตรฐาน Building Energy Code, BEC แนวทางและงบประมาณในการดำเนินการปรับปรุงอาคารตามเกณฑ์อาคารเขียว การเพิ่มระดับเกณฑ์การประเมิน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 ไม่มีการลงทุน ระดับที่ 2 มีการลงทุนน้อย ระดับที่ 3 มีการลงทุนระดับกลาง และระดับสุดท้ายมีการลงทุนมากที่สุด โดยระดับที่สามารถดำเนินการได้ทันทีคือระดับที่ 1 โดยการประกาศนโยบาย พร้อมจัดตั้งทีมงานสำหรับติดตามงานและประชาสัมพันธ์เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นอาคารเขียว โดยเริ่มจัดเก็บข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประเมินเพื่อรองรับการตรวจประเมินอาคารเขียวตามเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย (สำหรับอาคารระหว่างใช้งาน) ในส่วนมาตรการที่มีการลงทุนต่างๆ ระดับที่ 2-4 โดยสามารถตั้งเป็นแผนระยะยาวโดยตั้งเป็นโครงการปรับปรุงในปีถัดไป เพื่อเป้าหมายเกณฑ์คะแนนการประเมินที่สูงขึ้น แนวทางการปรับปรุงกรอบอาคาร ทั้ง 6 มาตรการ ได้แก่ 1. มาตรการใส่ฉนวนกันความร้อนความหนา 75 มิลลิเมตร ที่ผนังอาคาร 2. มาตรการเปลี่ยนกระจก เป็นกระจก Float ความหนา 5 มิลลิเมตร 3. มาตรการเปลี่ยนกระจก เป็นกระจก Low –E ความหนา 12 มิลลิเมตร 4. มาตรการติดฟิล์มที่กระจกอาคารเดิม 5. มาตรการใส่ฉนวนกันความร้อนความหนา 75 มิลลิเมตร ที่ผนังอาคาร + ติดฟิล์ม 6. มาตรการลดพื้นที่ผนังกระจกลง 50% โดยเปลี่ยนเป็นผนังทึบ โดยมาตรการที่มีความคุ้มค่าทางเศรษศาสตร์มากที่สุดและได้ตามมาตรฐาน Building Energy Code, BEC ได้แก่มาตรการ ที่ 6 ลดพื้นที่ผนังกระจกลง 50% โดยเปลี่ยนเป็นผนังทึบ โดยลงทุน 818,963.64 บาท มีค่า OTTV เท่ากับ46.22 W/m2 สามารถลดค่าพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 61,929.45 kWh/y หรือเท่ากับ 230,996.84 บาท/ปี โดยมีระยะการคืนทุนอยู่ที่ 3.54 ปี  
     คำสำคัญ การปรับปรุงอาคารตามมาตรฐานอาคารเขียว 
ผู้เขียน
615200026-9 นาย พิสิทธิ์ ถำวาปี [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0