ชื่อบทความ |
การประเมินประสิทธิผลมาตรการป้องกันควบคุมโรคกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
9 สิงหาคม 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
31 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม - เมษายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย ในช่วงปลายปี 2562 เริ่มมีการแพร่ระบาดและกระจายของเชื้ออย่างรวดเร็วไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลมาตรการป้องกันควบคุมโรคกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ของกรมควบคุมโรค ปี พ.ศ 2563-2564 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์ถดถอยแบบแบ่งช่วงเชิงเส้น
ผลการศึกษาพบว่า มาตรการปิดเมือง ปี 2563 ของประเทศไทย หลังได้รับมาตราการปิดเมือง 1 เดือน อุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง 3.036 ต่อแสนประชากร (95%CI= 1.217 ถึง 4.856) และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับมาตราการปิดเมืองเปรียบเทียบกับก่อนได้รับมาตราการปิดเมือง อุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง 1.025 ต่อแสนประชากร (95%CI= 0.350 ถึง 1.701) และมาตรการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปี 2564 ของประเทศไทย พบว่า หลังได้รับมาตรการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 1 เดือน อุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง 317.123 ต่อแสนประชากร (95%CI= 77.856 ถึง 556.390) และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับมาตรการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019เปรียบเทียบกับก่อนได้รับมาตรการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง 257.419 ต่อแสนประชากร (95%CI= 213.642 ถึง 301.195)
โดยสรุปพบว่า มาตรการปิดเมือง ปี 2563 และมาตรการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปี 2564 ของประเทศไทย มีประสิทธิผลในการลดอุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ซึ่งสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบาย วางแผน เฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงโรคอุบัติการใหม่ เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบทางสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล |
คำสำคัญ |
การประเมินประสิทธิผล, มาตรการป้องกันควบคุมโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|