2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สถานภาพงานวิจัยปี่พาทย์พื้นบ้านอีสานใต้ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 ธันวาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นดนตรีและการแสดง 
     มาตรฐานของวารสาร OTHER () 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า 7-30 
     บทคัดย่อ บทความเรื่องสถานภาพงานวิจัยปี่พาทย์พื้นบ้านอีสานใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวงดนตรี บทเพลง การสืบทอด และบทบาทต่อสังคมของวงปี่พาทย์พื้นบ้านอีสานใต้ โดยเป็นการสำรวจจากสื่อออนไลน์ที่ปรากฏในรูปของวิทยานิพนธ์ บทความวิจัย และงานวิจัย ที่สามารถเข้าถึงได้ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ จากผลงานวิจัยดังกล่าวมีองค์ความรู้ดังต่อไปนี้ วงปี่พาทย์พื้นบ้านอีสานใต้มีลักษณะโดยทั่วไปที่คล้ายคลึงกัน เครื่องดนตรีเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษและบางส่วนก็ได้มีการเพิ่มเข้ามาใหม่ พบรูปแบบของวงอยู่ 4 รูปแบบ ได้แก่ วงเครื่องห้า วงเครื่องหก วงเครื่องแปด และวงเครื่องสิบสอง โดยวงปี่พาทย์พื้นบ้านพบอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดด้วยกันคือ จังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และนครราชสีมา บทเพลงที่ใช้ในการบรรเลงประกอบไปด้วย เพลงชุดโหมโรง เพลงเถาหรือเพลงเบ็ดเตล็ด เพลงอวมงคล เพลงพิธีกรรมเลี้ยงผี เพลงแห่ เพลงมอญ และเพลงประกอบการแสดง บทเพลงที่โดดเด่นคือเพลงชุดโหมโรงและเพลงเลี้ยงผี กระบวนการสืบทอดอาศัยรูปแบบมุขปาฐะ เริ่มฝึกหัดเพลงสาธุการเป็นเพลงแรกคล้ายกันทุกวง สถานที่ที่ใช้ในการเรียนคือบ้าน วัด และชมรมดนตรีไทย ในด้านบทบาทต่อสังคมปรากฏพบใน 3 ลักษณะคือ 1.บรรเลงประกอบพิธีกรรมและการแสดง 2.บรรเลงเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้คนในชุมชน 3.ในฐานะแหล่งเรียนรู้สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชุมชนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  
     คำสำคัญ สถานภาพ, งานวิจัย, ปี่พาทย์พื้นบ้านอีสานใต้  
ผู้เขียน
645220005-8 นาย กฤตเมธ บุตรเต [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0