2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ภาพถ่ายสเปกตรัมและรูปแบบองค์ประกอบทางชีวเคมีของภาวะเหงือกโตสาเหตุจากยา และเหงือกปกติ: การศึกษานำร่อง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 กรกฎาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 25 (25th National Graduate Conference (2/2023)) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม (Sripatum University, Thailand) 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 กรกฎาคม 2566 
     ถึง 3 กรกฎาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 96 
     Editors/edition/publisher Professor Dr.Kittisak Jermsittiparsert 
     บทคัดย่อ ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนเกี่ยวกับพยาธิกำเนิดของเหงือกโตสาเหตุจากยา ซึ่งเป็นรอยโรคอาจเกิดซ้ำหลังการรักษา ดังนั้นองค์ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบทางชีวเคมีระหว่างเหงือกโตสาเหตุจากยาและเหงือกปกติอาจนำไปสู่การจัดการรอยโรคที่มีประสิทธิภาพ เอฟทีไออาร์ไมโครสเปกโตรสโคปี เป็นเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์องค์ประกอบทางชีวเคมีของสารผ่านการวิเคราะห์สเปกตรัมการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบสเปกตรัมการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของเหงือกโตสาเหตุจากยาและเหงือกปกติ โดยอาศัยเทคนิคดังกล่าวในการวิเคราะห์การดูดกลืนสเปกตรัมของเนื้อเยื่อเหงือกที่ถูกตรึงด้วยฟอร์มาลินและฝังในพาราฟินที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นเหงือกโตสาเหตุจากยาและเหงือกปกติ จำนวนกลุ่มละสามตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเลขคลื่น 1800-900 cm-1 เยื่อบุผิวของเหงือกโตสาเหตุจากยามีความเข้มของการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดและพีคของสเปกตรัมเฉลี่ยไม่แตกต่างจากเหงือกปกติ และเมื่อใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างของสเปกตรัมพบว่าไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเยื่อบุผิวของเหงือกโตสาเหตุจากยาและเหงือกปกติ ส่วนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของเหงือกโตสาเหตุจากยามีความเข้มของการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดสูงกว่าเหงือกปกติ โดยตำแหน่งการเกิดพีคของสเปกตรัมเฉลี่ยไม่แตกต่างจากเหงือกปกติ แต่พบความแตกต่างของสัดส่วนโครงสร้างคอยล์และแผ่นบีต้าของโปรตีนระหว่างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในเหงือกโตสาเหตุจากยาและเหงือกปกติ อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างของสเปกตรัมพบว่าไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของเหงือกโตสาเหตุจากยาและเหงือกปกติ 
ผู้เขียน
645130017-2 นาย ปุณณพิชญ์ สู่พานิช [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0