2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title แนวคิดของนักเรียนในการเรียนรู้เรื่อง วงกลม ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด Students’ Ideas for learning about Circle in Classroom using an Open Approach 
Date of Distribution 19 July 2023 
Conference
     Title of the Conference ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์โควิด 19 
     Organiser คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทนรท์วิโรฒ 
     Conference Place รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM 
     Province/State
     Conference Date 15 August 2023 
     To 15 August 2023 
Proceeding Paper
     Volume 2566 
     Issue
     Page 112-124 
     Editors/edition/publisher ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิดา มิตรานันท์ 
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดของนักเรียนในการเรียนรู้เรื่อง วงกลม ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สมัครใจเข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้ จำนวนนักเรียน 12 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ดำเนินการสอนตามวิธีการแบบเปิดโดยเริ่มต้นจากการเรียนรู้เกี่ยวกับเส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบวงเข้าสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ของรูปวงกลม วิเคราะห์ข้อมูลจากโพรโทคอล วิดีทัศน์ชั้นเรียนและใบกิจกรรมของนักเรียนตามกรอบลำดับกิจกรรมการสอน (Flow of Lesson) ตามแนวคิดของ Inprasitha M. (2017) ประกอบด้วย การแสดงแทนโลกจริงของนักเรียน (Representation of Real World) การแสดงแทนสื่อกึ่งรูปธรรม (Semi Concrete Aids) และการแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียน (Representation of mathematical World) ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดของนักเรียนในการเรียนรู้เรื่อง วงกลม ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิดปรากฏนักเรียนเรียนรู้เรื่องวงกลมตามลำดับกิจกรรมการสอน (Flow of Lesson) ทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การแสดงแทนโลกจริงในขั้นการนำเสนอสถานการณ์ปัญหา คือ นักเรียนอธิบายว่าการกลิ้งวงกลมเพื่อหาระยะทางต้องกลิ้งไปข้างหน้ามีวิธีการเช่นเดียวกันกับการกลิ้งของลูกบอลและการหมุนของล้อรถที่ตนเองเคยพบเจอ 2) การแสดงแทนสื่อกึ่งรูปธรรมในขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน คือ นักเรียนใช้วงกลมแต่ละขนาดกลิ้งบนแถบกระดาษและวัดระยะทางที่กลิ้งได้ด้วยตลับเมตร นักเรียนหาพื้นที่รูปวงกลมโดยนำสติ๊กเกอร์รูปวงกลมที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เท่ากันมาตัดออกเป็นส่วน ๆ และสร้างเป็นรูปใหม่เพื่อหาพื้นที่จากความรู้เดิมของตัวเองโดยขณะที่นักเรียนได้สังเกตและลงมือแก้ปัญหาผ่านสื่อกึ่งรูปธรรม จะเกิดการเคลื่อนย้ายจากโลกจริงของนักเรียนผ่านสื่อกึ่งรูปธรรมมาสู่โลกคณิตศาสตร์และ 3) การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียนในขั้นการอภิปรายแนวคิดและขั้นการสรุปแนวคิดร่วมกัน คือ นักเรียนแสดงแนวคิดเป็นตัวเลขลงในตารางที่ครูกำหนดให้หาอัตราส่วนของเส้นรอบวงโดยการคำนวณคำตอบเป็นตัวเลข นักเรียนหาพื้นที่รูปวงกลมโดยแบ่งรูปวงกลมออกเป็นส่วน ๆ ที่เท่ากันโดยใช้สูตรพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม (กว้าง × ยาว) และสูตรพื้นที่รูปสามเหลี่ยม (1/2 × ฐาน × สูง) ต่อยอดเป็นสูตรการหาพื้นที่รูปวงกลม (รัศมี × รัศมี × 3.14) จากที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าวิธีการแบบเปิด (Open Approach) เกิดแนวคิดของนักเรียนในการเรียนรู้เรื่องวงกลม ตามลำดับกิจกรรมการสอน (Flow of Lesson) โดยขั้นที่ 1 การนำเสนอสถานการณ์ปัญหานักเรียนแสดงแนวคิดผ่านโลกจริงจากประสบการณ์ของตนเอง ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองนักเรียนแสดงแนวคิดของตนเองผ่านสื่อกึ่งรูปธรรมเพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงโลกคณิตศาสตร์ในขั้นที่ 3 การอภิปรายและเปรียบเทียบในชั้นเรียนและขั้นที่ 4 การสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิด นักเรียนอธิบายแนวคิดของตนเองและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยการแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ผ่านตัวเลข ประโยคทางคณิตศาสตร์ สูตรการหาพื้นที่ ทำให้เกิดแนวคิดในการเรียนรู้เรื่องวงกลมนำไปสู่สูตรการหาพื้นที่ของวงกลม  
Author
635050040-1 Miss APHICHAYA SUMALAI [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0