2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวภายหลังถอดท่อช่วยหายใจ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 สิงหาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลศาสตร์ และสุขภาพ  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 28221133 
     ปีที่ 46 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม ถึงธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาเชิงวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของเว็บแอปพลิเคชันประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวภายหลังถอดท่อช่วยหายใจ การศึกษาดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ 1) สืบค้นและทบทวนวรรณกรรมเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวภายหลังถอดท่อช่วยหายใจ 2) ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเว็บแอปพลิเคชันโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเว็บแอปพลิเคชันโดยทดสอบความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินด้วยพยาบาล 2 คน และ 3) ทดสอบความแม่นยำของเว็บแอปพลิเคชันกับเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการถอดท่อช่วยหายใจในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม 2565 จำนวน 150 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาเพื่อบรรยายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และใช้ ROC curve เพื่อทดสอบความแม่นยำของเว็บแอปพลิเคชัน ผลการศึกษาพบว่า เว็บแอปพลิเคชันประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวภายหลังถอดท่อช่วยหายใจมี 18 ข้อ คะแนนรวม 30 คะแนน ประกอบด้วยการประเมินปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวภายหลังถอดท่อช่วยหายใจ 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้ป่วย ประกอบด้วย อายุ เพศ การวินิจฉัยโรค โรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคไตวายระยะท้าย เป็นต้น ข้อบ่งชี้ในการใส่ท่อช่วยหายใจ คะแนน APACHE II ระดับฮีโมโกลบิน ระดับอัลบูมินในเลือด PaO2/FiO2 ratio ระดับความรู้สึกตัว และประสิทธิภาพการไอขับเสมหะ และ 2) ด้านการรักษาพยาบาล ได้แก่ การฟอกเลือด ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การได้รับยานอนหลับหรือยากระตุ้นความดันโลหิต ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจ และภาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ เว็บแอปพลิเคชันมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และมีค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ 0.97 ในการทดสอบประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันพบว่า ที่จุดตัดคะแนน 10 คะแนน เว็บแอปพลิเคชันมีค่าความไวร้อยละ 88.6 ค่าความจำเพาะร้อยละ 87.2 และมีค่าพื้นที่ใต้ของ ROC curve เท่ากับ 0.95 (95%CI=0.91-0.98, p<.001) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเว็บแอปพลิเคชันประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวภายหลังถอดท่อช่วยหายใจมีประสิทธิภาพสูงในการจำแนกความเสี่ยงของการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวภายหลังถอดท่อช่วยหายใจ และใช้เว็บแอปพลิเคชันในการคัดกรองและดำเนินการป้องกันการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวภายหลังถอดท่อช่วยหายใจต่อไป  
     คำสำคัญ เว็บแอปพลิเคชัน ภาวะหายใจล้มเหลว และการประเมินความเสี่ยง 
ผู้เขียน
645060004-0 นาย ธีรวัฒน์ สมคำศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0