2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษาตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 สิงหาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
     ISBN/ISSN ISSN 2351-0366 
     ปีที่ 18 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนจากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์โควิด 19 ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามมาจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 4,240 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกนและทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิได้กลุ่มตัวอย่าง 207 คน ผู้ร่วมการสนทนากลุ่ม จำนวน 25 คน คัดเลือกจากผู้แทนชุมชนที่สามารถให้ข้อมูลได้ เครื่องมืองานวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม (IOC=0.67-1.00) และทำการตรวจสอบความเที่ยงโดยรวมมีค่า 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผา ณ จุดที่พบและทิ้งรวมกับมูลฝอยทั่วไป หน่วยงานที่รับผิดชอบรณรงค์ให้ประชาชนคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อตั้งแต่ต้นทาง ประชาชนมีความรู้ระดับดี ร้อยละ 39.13 ทัศนคติระดับดี ร้อยละ 49.76 และพฤติกรรมระดับปานกลาง ร้อยละ 85.51 โดยรวมประชาชนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพระดับปานกลาง (x̅ = 3.35, S.D. = 1.14) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ได้รับผลกระทบระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านสุขภาวะทางกาย (x̅ = 4.04, S.D. = 0.90) และด้านสุขภาวะทางสังคม (x̅ = 3.53, S.D. = 0.90) ได้รับผลกระทบระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านสุขภาวะทางจิตใจ (x̅= 3.35, S.D. = 1.20) และด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณหรือปัญญา (x̅= 2.69, S.D. = 1.40) จากการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มาซึ่งมาตรการป้องกันและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ประชาชนทุกคนคัดแยกมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางทุกครัวเรือนและนำไปทิ้ง ณ จุดรับทิ้งที่กำหนดไว้ ควรมีการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนและประชาชนเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และตั้งคณะทำงานในชุมชนที่สามารถทำงานได้จริงและมีการมอบหมายหน้าที่ชัดเจน 
     คำสำคัญ มูลฝอยติดเชื้อ โควิด-19 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ 
ผู้เขียน
645110063-7 น.ส. วรรณา วัดโคกสูง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0