ชื่อบทความ |
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างเครื่องมือการวิจัยแบบเดลฟายออนไลน์ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
26 กรกฎาคม 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารธรรมศาสตร์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
งานวารสารทางวิชาการและระบบข้อมูลการวิจัย กองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ISBN/ISSN |
0125-3670 |
ปีที่ |
42 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2566 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
เครื่องมือการวิจัยที่ช่วยลดความซ้ำซ้อน และลดเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบออนไลน์โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technologies) อันประกอบด้วยชุดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ดังเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้คือ โปรแกรมชุดเครื่องมือของกูเกิล (Google) จากบัญชีจีเมล (Gmail) ที่เรียกว่าฟอร์ม (Forms) ซึ่งนำมาใช้สร้างแบบเดลฟายออนไลน์ (Online delphi) และสนับสนุนช่องทางการรับข้อความหรือข้อคำถาม และส่งคำตอบกลับผ่านทางอีเมล (E-mail) เฟสบุ๊ค (Facebook) และช่องทางอื่นที่มีรากฐานมาจากดิจิทัล ได้แก่ มือถือสมาร์ตโฟน (Smart phone) แท็บเล็ต (Tablet) โน๊ตบุ๊ค (Notebook) และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) เป็นต้น ด้วยระบบเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นโปรแกรมการทำงานบนเวิลด์ไวด์เว็บ (www) แบบตามเวลาจริง (Real time) โดยไม่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์อันเกิดจากการพบเห็นหรือเผชิญหน้ากัน เป็นการช่วยปกป้องสิทธิส่วนบุคคลสำหรับผู้ให้ข้อมูล ทำให้ได้คำตอบที่มีคุณภาพมาใช้วิเคราะห์ผลการวิจัย ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในการนำมาใช้ดำเนินการวิจัยเพื่อเว้นระยะห่างทางสังคมในยุคของการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ ดังนั้น บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างเครื่องมือการวิจัยแบบเดลฟายออนไลน์ โดยเน้นสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดเทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนเครื่องมือการวิจัย และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เรียกว่ากูเกิลฟอร์มเป็นเครื่องมือสร้างเดลฟายออนไลน์ นำไปสู่บทสรุปจากผู้เขียน ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาให้เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้และนักวิจัยที่ต้องการเพิ่มทักษะและความสามารถเชิงลึกโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องความเป็นอิสระ ระยะเวลา และประหยัดงบประมาณดำเนินการวิจัยในยุคปัจจุบัน และอนาคต |
คำสำคัญ |
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, การสร้างเครื่องมือการวิจัย, เดลฟายออนไลน์ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|