2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การสร้างสรรค์ สต็อปโมชัน จากรูปแบบหุ่นอีป๊อกหลวงพระบาง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 กันยายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ศิลปกรรมวิจัย” ประจำปี 2566 ทักษะศิลปะปรัชญา แห่งอุษาคเนย์  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     สถานที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 กันยายน 2566 
     ถึง 2 กันยายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 253-271 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่อง: การสร้างสรรค์ สต็อปโมชัน จากรูปแบบหุ่นอีป๊อกหลวงพระบางเป็นการวิจัยเชิงคุณ ภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของหุ่นอีป๊อกหลวงพระบาง สู่การสร้างสรรค์ สต๊อบโมชัน โดยใช้เก็บข้อมูล 2 วิธีคือ ทางด้านเอกสาร และ ข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก วิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประ กอบด้วย แบบสำรวจ, แบบสัมภาษณ์, แบบสังเกต และแบบสนทนากลุ่ม. จากนั้นนำมาออกแบบสร้างสรรค์ ตามขั้นตอน 1. Pre-production 2. Production และ 3. Post-production ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของหุ่นอีป๊อกหลวงพระบางในแง่ของระบบกลไกการเชิดหุ่นก็มีรูปแบบโดย รวมคล้ายคลึงกับรูปแบบการสร้างหุ่นกระบอกทั่วไปที่มีอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่หุ่นอีป๊อกนั้นจะมีความแตกต่างในแง่ของวิธีคิดของผู้สร้างในขั้นตอนของกระบวนการ และขั้นตอนการทำที่แตก ต่าง และความเรียบง่ายในการใช้วัสดุเข้าในการตกแต่งตัวหุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุให้รูปลักษณะของหุ่นอีป๊อกหลวงพระบางนั้นมีเอก ลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้หุ่นดีป๊อกหลวงพระบางกลายเป็นหุ่นที่มีรูปแบบตัวหุ่นที่ถือว่า มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแบบของหลวงพระบางที่แท้จริง. ส่วนผลการวิจัย การสร้างสรรค์ สต๊อบโมชัน จากรูปแบบของหุ่นอีป๊อกหลวงพระบางพบว่ามีความเหมาะสมทั้งในแง่ของการสร้างตัวละคร และการดำเนินเรื่องราวใหม่ถึงแม้ว่ามีความแตกต่างจากรูปแบบเดีมในแง้ของการใช้วัสดุในการสร้างหุ่นที่แตกต่างกัน แต่ก่อยังสามารถคงไว้เอกลักษณ์ที่ทำให้ผู้ชมยังรู้สึกถึงตัวตนของความเป็นหุ่นอีป๊อกแบบดั้งเดิมอยู่ และสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมด้วยความน่ารักของตัวละครใหม่ที่มีสีสันสดใส รวมถึงรูปแบบวิธีการนำเสนอที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสต๊อบโมชัน ที่ได้รับการพิสูจน์จากหลายโครงการที่สร้างสื่อเป็นสต๊อบโมชัน ในประเทศลาวโดยเฉพาะสื่อที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการศึกษา และสื่อเหล่านั้นก็สามารถสร้างความสนใจให้กับผู้ที่ได้รับชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี. คำสำคัญ : หุ่นอีป๊อกหลวงพระบาง, รูปแบบหุ่น, สต๊อบโมชัน  
ผู้เขียน
645220030-9 Mr. SOULIYA PHOUMIVONG [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0