2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การทับซ้อนทางสถาปัตยกรรมขอมของพระธาตุเชิงชุมจังหวัดสกลนคร (Khmer architectural overlap of Phra That Choeng Chum, Sakon Nakhon Province) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 1 กันยายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2566 (FAR9) Philosophy and Practice of Asean Art ทักษะ ศิลปะ ปรัชญา แห่งอุษาคเนย์ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 กันยายน 2566 
     ถึง 2 กันยายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1227 - 1242 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและการทับซ้อนทางสถาปัตยกรรมขอมของพระธาตุเชิงชุม ที่มีการทับซ้อนทางสถาปัตยกรรมล้านช้างเพื่อที่จะสนับสนุนหรืออธิบายการทับซ้อนทางวัฒนธรรมเนื่องจากปราสาทขอมเป็นหลักฐานทางศิลปกรรม เป็นหนึ่งในหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวัฒนธรรม มองสถาปัตยกรรมเห็นความทับซ้อนทางสถาปัตยกรรมเพื่อที่จะอธิบายการทับซ้อนทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า พระธาตุเชิงชุม เป็นปราสาทขอมมาก่อนในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ภายหลังที่วัฒนธรรมขอมเสื่อมอำนาจลงปราสาทหลังนี้ก็ได้ถูกปล่อยทิ้งล้าง จนกระทั้งในราวพุทธศตวรรษที่ 21 วัฒนธรรมล้านช้างได้เข้ามามีบทบาทในพื้นที่จังหวัดสกลนครในอดีต เกิดการปรับเปลี่ยนลักษณะของปราสาทขอมให้กลายเป็นพระธาตุเจดีย์ เป็นลักษณะของเจดีย์ที่สร้างครอบปราสาทขอมเอาไว้ภายใน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเคารพต่อสิ่งก่อสร้างของบรรพบุรุษในอดีตทั้งที่มีความแตกต่างกัน แต่ชุมชนในภายหลังก็ยังให้ความเคารพต่อซากอดีตมิได้ทำลายลง คำสำคัญ : [สถาปัตยกรรมขอม], [การทับซ้อน], [พระธาตุเชิงชุม] Abstract This article aims to study the history and Khmer architectural overlap of Phra That Choeng Chum. with overlapping Lan Xang architecture in order to support or explain the cultural overlap because the Khmer castle is an artistic evidence It is one of the cultural empirical evidence. Looking at architecture sees architectural overlaps in order to explain cultural overlaps. The study found that Phra That Choeng Chum was a Khmer sanctuary in the 16th-17th Buddhist century. After the decline of Khmer culture, this sanctuary was abandoned. Until the 21st century, the Lan Xang culture has played a role in the area of Sakon Nakhon in the past. The appearance of the Khmer Prasat was transformed into Phra That Chedi, It is a style of chedi built to cover the Khmer castle inside. It shows respect for the buildings of the ancestors in the past, despite the differences. But later communities still respect the remains of the past, not destroying them. Keywords : [Khmer architecture], [Overlap], [Phra That Choeng Chum]  
ผู้เขียน
645220020-2 นาย นนท์ธิวรรธณ์ ธีระภาพ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0