2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานไม่เกิน 5 ปี และไม่่เคยผ่านการอบรมการพยาบาลผู้ป่วยในมะเร็งเคมีบำบัด ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 31 สิงหาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร โรงพยาบาลสกลนคร 
     ISBN/ISSN 0859-7251 
     ปีที่ 26 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม - สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 78-90 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ งานวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคเลือด ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลผู้รับการพัฒนาสมรรถนะที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคเลือดไม่เกิน 5 ปี 7 คน และพยาบาลพี่เลี้ยง 3 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคเลือด มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.93 และเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีค่า CVI เท่ากับ 0.97 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และแบบสังเกตทักษะการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีค่า CVI เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยสถิติ Wilcoxon signed rank test และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน(Planning) วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันโดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า พยาบาลไม่ผ่านการอบรมเฉพาะทางการบริหารยาเคมีบำบัด และไม่มีรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน ได้รับการสอนเฉพาะในช่วงที่ปฏิบัติงาน ไม่มีแบบแผนการสอนที่ชัดเจน จากนั้นระดมสมองออกแบบโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะ ซึ่งประกอบด้วยการอบรมภาคทฤษฎี 6 วัน การสาธิตและการฝึกปฏิบัติจริง 5 วัน 2) นำโปรแกรมไปปฏิบัติ (Action) 3) การประเมินผล (Observation) พบว่า พยาบาลมีสมรรถนะภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.018) และภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมพยาบาลมีทักษะการปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 2.74 S.D. = 0.26) 4) การสะท้อนข้อมูล (Reflection) อภิปรายผลลัพธ์และร่วมกันพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด ใช้ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคเลือด โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น  
     คำสำคัญ โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ 
ผู้เขียน
645060093-5 น.ส. สุภาพร มูลดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0