2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 กันยายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง Journal of Architecture, Design and Construction (JADC) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN 2673-0340 (Online), 2673-0332 (Print) 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ 4 ประเภทได้แก่ ห้องสำนักงาน ห้องประชุม โถงทางเดิน และห้องบรรยาย ของอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้วิธีการสำรวจห้อง 171 ห้องโดยการดำเนินการศึกษาสำรวจข้อมูล และวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าออกเป็น 4 ประเด็นคือ ปริมาณสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้า ค่ากำลังส่องสว่างสูงสุด ค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อจำนวนผู้ใช้งาน และค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อพื้นที่ใช้งาน จากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดคือระบบปรับอากาศ ระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ และระบบแสงสว่างคิดเป็นค่าเฉลี่ย 76.52%, 18.06% และ 5.42% เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกันพบว่า ห้องสำนักงาน มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนคนในพื้นที่ มีค่าเฉลี่ยการใช้พลังงานต่อจำนวนผู้ใช้งาน คือ 17.30 kWh/คน และโถงทางเดินน้อยที่สุดคือ 0.11 kWh/คน ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของผู้ใช้งานและปริมาณการใช้พลังงานว่าเมื่อมีผู้ใช้งานมากขึ้นแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามไปด้วย และห้องบรรยายเป็นห้องที่มีค่าเฉลี่ยพลังงานไฟฟ้าต่อพื้นที่ใช้งานสูงที่สุดเท่ากับ 1.20 kWh/"m" ^"2" และโถงทางเดินน้อยที่สุดคือ 0.02 kWh/m2 จึงได้แนวทางการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า มาตรการประหยัดพลังงานระยะสั้น พลังงานระยะยาว และมาตรการการใช้พลังงานทดแทนโดยติดตั้งโซล่าเซลล์ 
     คำสำคัญ การใช้พลังงานในสถานศึกษา, การสำรวจ, ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 
ผู้เขียน
635200028-7 น.ส. สกลสุภา เติมสวัสดิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0