Title of Article |
ความต้องการต่อการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการศึกษาแบบเปิดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ |
Date of Acceptance |
6 September 2023 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ (Interdisciplinary Academic and Research Journal) |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
DR.KEN Institute of Academic Development and Promotion |
ISBN/ISSN |
ISSN 2774-0374 (Online) |
Volume |
3 |
Issue |
5 |
Month |
กันยายน - ตุลาคม |
Year of Publication |
2023 |
Page |
|
Abstract |
การกำหนดนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อการวางแผนยุทธศาสตร์ แผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัย และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างแท้จริงนั้น จำเป็นต้องมีข้อมูลส่วนหนึ่งสำหรับ เป็นพื้นฐานเพื่อใช้สะท้อนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อยกระดับและสนับสนุนการจัดการศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และความต้องการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการศึกษาแบบเปิดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน มีความคิดเห็นต่อบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความพึงพอใจ ต่อการใช้ประโยชน์จากบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความพร้อมของการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ อยู่ในระดับมาก และด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ผลการสำรวจความต้องการด้านการศึกษาแบบเปิด พบว่า นักศึกษามีความต้องการ คิดเป็นร้อยละ 77.25 และความต้องการได้รับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการศึกษาแบบเปิด พบว่า นักศึกษามีความต้องการในด้านความเร็วในการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80.50 รองลงมา ความมีเสถียรภาพของระบบเครือข่ายฯ สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 66.50 และจุดให้บริการเครือข่ายไร้สาย (WIFI) ครอบคลุมการใช้งานทั่วทั้งมหาวิทยาลัย ร้อยละ 54.50 ตามลำดับ |
Keyword |
การศึกษาแบบเปิด, การบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยราชภัฏ |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|