2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟของครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตสุขภาพที่ 7 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 กันยายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 16 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ ความสำคัญของปัญหา: ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน พบได้ในทุกอาชีพและครูเป็นหนึ่งอาชีพที่ต้องให้ความรู้และต้องใช้พลังงานทั้งร่างกายและจิตใจในการสอนสูงมาก ด้วยภาระงานที่เพิ่มขึ้น ถ้าไม่สามารถวางแผนหรือจัดการกับงานได้ อาจนำไปสู่การเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟของครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตสุขภาพที่ 7 วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Analytical cross-sectional study) ในครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 539 คน ทำการศึกษาและเก็บข้อมูล ในเดือน พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอยพหุแบบลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอด้วยค่า Adjusted odds ratio ค่าเชื่อมั่นที่ 95% และค่า P-value ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา: ครูมีความชุกของภาวะหมดไฟ ร้อยละ 17.6 (95%CI = 14.6-21.1) ปัจจัยต่างๆ พบว่า ประสบการณ์ทำงานเป็นครู จำนวนชั่วโมงการสอน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) กล่าวคือ เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรที่เหลือในสมการสุดท้ายแล้ว พบว่า ครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 1-10 ปี มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเป็น 4.10 เท่า เมื่อเทียบกับครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 21 ปีขึ้นไป (Adjusted OR= 4.10 ; 95%CI= 2.21-7.60) และครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 11-20 ปี มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเป็น 1.92 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานเป็นครูระยะเวลา 21 ปีขึ้นไป (Adjusted OR= 1.92; 95%CI= 0.95-3.88) ในขณะที่จำนวนชั่วโมงในการสอนมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.003) โดยผู้ที่มีการสอน จำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ ขึ้นไป มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเป็น 2.09 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีชั่วโมงการสอน จำนวนน้อยกว่า 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ (Adjusted OR= 2.09 ; 95%CI= 1.29-3.38) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.005) กล่าวคือ ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานน้อย มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ เป็น 3.17 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมาก (Adjusted OR= 3.17 ; 95%CI= 1.54-6.55) สรุปและข้อเสนอแนะ: ความชุกของภาวะหมดไฟในการทำงานของครูไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตามควรมีการประเมินคัดกรองภาวะหมดไฟในครู รวมถึงการกระจายภาระงานให้เหมาะสมกับบุคลากรและมีกิจกรรมในการจัดการความเครียดเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟในอนาคต  
     คำสำคัญ ภาวะหมดไฟ, ครู, ความชุกของภาวะหมดไฟ 
ผู้เขียน
645110082-3 นาย สายชล ทอนมาตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0