2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าวของ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 12 กันยายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     ISBN/ISSN 0857-0841 
     ปีที่ 40 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาการรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรเป็นการ 1. ศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ สภาพการผลิตข้าว 2. ศึกษาการรับรู้ของเกษตรกรต่อผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าว รวมถึงเปรียบเทียบการรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรที่มีสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการผลิตข้าวที่แตกต่างกัน ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 1,394 ราย ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 15 ของประชากร เท่ากับ จำนวน 210 ราย คัดเลือกเกษตรกรโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ.2565 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทางสถิติ ได้แก่ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และ LSD ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกร ร้อยละ 61.9 มีการจัดการตอซังและฟางข้าวด้วยการเผา เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวก (ร้อยละ 45.4) และเป็นข้อตกลงของผู้ประกอบการรถไถเตรียมดิน (ร้อยละ 34.4) ส่วนร้อยละ 38.9 มีการจัดการโดยปลอดการเผา โดยใช้การไถกลบตอซัง (ร้อยละ 60) นำไปปรับปรุงบำรุงดินหรือคลุมโคนต้นไม้ (ร้อยละ 13.8) และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (ร้อยละ 13.8) ทั้งนี้การรับรู้ผลกระทบต่อภาคการเกษตร สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และกฎหมาย อยู่ในระดับมากทุกประเด็น มีเพียงข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ที่เกษตรกรไม่มีการรับรู้ถึงร้อยละ 49.5 ส่วนการเปรียบเทียบการรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าว จำนวน 4 ด้าน คือ การเกษตร สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ โดยจำแนกตาม ประสบการณ์การทำนา การได้รับการประชาสัมพันธ์และการถ่ายทอดความรู้ ภาระหนี้สิน การมีโรคประจำตัวเป็นโรคภูมิแพ้ของสมาชิกครัวเรือนเกษตรกร และการจัดการตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรที่แตกต่างกัน พบว่า เกษตรกรมีการรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (P<0.001, P<0.01 และ P<0.05) ในบางประเด็น 
     คำสำคัญ การรับรู้ของเกษตรกร การเผา ตอซังและฟางข้าว อำเภอกมลาไสย 
ผู้เขียน
635030049-5 น.ส. วีรนุช กุดแถลง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0