2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลปัญหาการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติในผู้สูงอายุบาดเจ็บไขสันหลัง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 กันยายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 47 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลปัญหาการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติในผู้สูงอายุบาดเจ็บไขสันหลัง กลุ่มตัวอย่าง 38 คน สุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติเข้าศึกษา (consecutive sampling) แล้วแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือคัดกรองกลุ่มตัวอย่างเข้าศึกษา ได้แก่ แบบประเมินความรุนแรงการถ่ายอุจจาระผิดปกติเกิดจากประสาท (neurogenic bowel dysfunction score; NBDS) ฉบับภาษาไทย แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) และแบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อ (6CIT) 2) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลปัญหาการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติในผู้สูงอายุบาดเจ็บไขสันหลังที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสุขภาพการเจ็บป่วยและการตรวจร่างกาย แบบประเมิน NBDS และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ที่บาดเจ็บไขหลังที่มีความลำบากในการจัดการปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอนะของผู้ทรงคุณวุฒิก่อนนำไปใช้ในงานวิจัย ผลการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของ 1) แนวปฏิบัติฯ 2) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสุขภาพการเจ็บป่วยและการตรวจร่างกาย และ 3) แบบประเมินคุณภาพชีวิตฯ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเป็น 0.86, 0.90 และ 0.96 ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินคุณภาพชีวิตฯได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสุขภาพการเจ็บป่วยและการตรวจร่างกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Chi-square และ Fisher’s Exact พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p > 0.05) ยกเว้น วิธีการหลักในการถ่ายอุจจาระและขั้นตอนการดูแลการขับถ่ายอุจจาระใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาในประเด็นถ่ายอุจจาระปกติ (p. = 038) ต้องใช้แรงเบ่งถ่ายอุจจาระมาก (p. = 046) และการรับประทานอาหารที่มีกากใยในช่วง 3 วันที่ผ่านมา (p=.049) เปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Independent t-test และ Mann-Whitney U test เปรียบเทียบผลลัพธ์ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Paired t-test และ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการศึกษาสรุปได้ว่าแนวปฏิบัติฯไม่มีผลต่อระดับคะแนน NBDS แต่มีผลดีต่อคะแนนคุณภาพชีวิตฯคือ คะแนนระดับคุณภาพชีวิตฯ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองน้อยกว่า (คุณภาพชีวิตดีกว่า) กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.003) และผลต่างคะแนนระดับคุณภาพชีวิตฯ ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.002) จึงควรมีการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติฯนี้เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุบาดเจ็บไขสันหลังที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ  
     คำสำคัญ การถ่ายอุจจาระผิดปกติเกิดจากประสาท; คุณภาพชีวิต; แนวปฏิบัติการพยาบาล; บาดเจ็บไขสันหลัง; ผู้สูงอายุ 
ผู้เขียน
635060053-6 น.ส. ชลาลัย ปานเพชร [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0