ชื่อบทความ |
อาการเหนื่อยล้าของผู้สูงอายุไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต : การจัดการทางการพยาบาล* |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
24 พฤษภาคม 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
2822-1133 (Onlne) |
ปีที่ |
46 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
เมษายน-มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
22-34 |
บทคัดย่อ |
การบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องหรือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ช่วยทำหน้าที่ทดแทนไตบางประการและยืดชีวิตให้กับผู้สูงอายุไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตยังอาจมีความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนความไม่สุขสบายหลายอย่าง อาการเหนื่อยล้าเป็นอีกหนึ่งอาการไม่สุขสบายที่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสูงอายุร่วมกับปัจจัยจากภาวะไตเรื้อรัง อาการเหนื่อยล้าส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจและอารมณ์ สังคมเศรษฐกิจ และจิตวิญญาณ พยาบาลควรวางแผนการพยาบาลและจัดการอาการเหนื่อยล้า สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มนี้โดยใช้บทบาทอิสะของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ บทความนีนำเสนอการทบทวนวรรณกรรม เกี่ยวกับอาการเหนื่อยล้า บทบาทพยาบาลในการจัดการอาการเหนื่อยล้าของผู้สูงอายุไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต รวมทั้งนำเสนอโปรแกรมในการจัดการอาการเหนื่อยล้าในผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการจัดการอาการเหนื่อยล้าต่ออาการเหนื่อยล้า ในผู้สูงอายุไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการจัดการอาการเหนื่อยล้าให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
คำสำคัญ |
การจัดการอาการ การพยาบาล ผู้สูงอายุ โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย อาการเหนื่อยล้า |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|