2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการร้านเกม VR โดยใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ: กรณีศึกษาร้าน VR Delivery KKU VR GAME CENTER SERVICE IMPROVEMENT USING QUALITY FUNCTION DEPLOYMENT: CASE STUDY IN VR DELIVERY KKU 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 11 มกราคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย  
     ISBN/ISSN 2392-5787 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเครื่องมือในการวางแผนเพื่อพัฒนาธุรกิจการบริการให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาร้านกรณีศึกษาเพื่อเป็นต้นแบบ แนวทางให้แก่ผู้ประกอบการในธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ระยะที (1) จากการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth interviews) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า (Face-to-Face Interview) และแบบสอบถามผ่านช่องทาง Facebook โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100 คน สามารถสรุปได้ว่า การจัดหมวดหมู่ความต้องการของผู้บริโภค โดย Brady and Cronin เป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่ สภาวะแวดล้อม (Ambient Conditions) การออกแบบ (Design) ปัจจัยทางสังคม (Social Factors) ช่วงเวลาที่รอคอย (Waiting Time) และสิ่งที่จับต้องได้ (Tangibles) นั้น สอดคล้องกับปัจจัยที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจใช้บริการร้านเกม VR ระยะที่ (2) งานวิจัยนี้ ได้นำเอาเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality function deployment: QFD) มาประยุกต์ใช้ โดยเลือกใช้เฉพาะบางส่วนของ บ้านแห่งคุณภาพ (House of Quality) โดยนำเอากลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100 คน ที่เคยสัมภาษณ์เชิงลึกไปแล้ว และผู้ที่เคยใช้บริการร้านอื่นอีก 100 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน ข้อมูลทั่วไปได้แก่เพศ ชาย 87 คน คิดเป็น 43.5% หญิง 113 คน คิดเป็น 56.5% มีผู้ใช้บริการตั้งแต่อายุ 7-30 ปี อาชีพ นักเรียน นักศึกษา และพนักงานส่งอาหาร ในส่วนการปรับปรุงการบริการนั้น แม้ทุกหัวข้อจะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการให้ปรับปรุง แต่มีเพียงไม่กี่จุดเท่านั้นที่จะจำเป็นต้องปรับปรุงจริง ๆ ซึ่งช่วยให้ประหยัดงบประมาณเป็นอย่างมาก ระยะที่ (3) เมื่อทำการปรับปรุง และหลังการปรับปรุงอีกครั้งแล้ว ผลจากการประเมินพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในการให้บริการมากขึ้น 
     คำสำคัญ วีอา, เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ, เสียงเรียกร้องของผู้บริโภค  
ผู้เขียน
645210057-5 นาย วิศรุต บุ่งอุทุม [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0