2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 15 กันยายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 264141 
     ปีที่ 47 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความเป็นนวัตกร เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2) ศึกษาความเป็นนวัตกรของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 3) ศึกษาความเป็นนวัตกรรมของชิ้นงานที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น แบบกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ ชุดวิดีทัศน์ประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง แบบประเมินผลงาน (Rubric Score) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจหลังเรียน แบบประเมินทักษะความเป็นนวัตกร แบบประเมินความเป็นนวัตกรรมของชิ้นงาน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้จากทักษะการปฏิบัติงานของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย 8.98 คิดเป็นร้อยละ 89.77 และผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 90.91 2) ความเป็นนวัตกรของผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (\bar{\mathrm{X}}=2.46, S.D=0.33) 3) ความเป็นนวัตกรรมของชิ้นงาน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (\bar{\mathrm{X}}=2.59, S.D=0.23) 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (\bar{\mathrm{X}}=4.64, S.D.=0.21) 
     คำสำคัญ ดินสอพอง ห้องเรียนกลับด้าน นวัตกร  
ผู้เขียน
645050121-2 นาย ธีรนัย เฉลิมวงศ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0