2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร 
Date of Acceptance 19 September 2023 
Journal
     Title of Journal วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน (Academic Journal of Community Public Health) 
     Standard TCI 
     Institute of Journal สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2 - 4 อาคารรวมหน่วยงานราชการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ฯ 10210  
     ISBN/ISSN 2408-2686 
     Volume 10 
     Issue
     Month
     Year of Publication 2023 
     Page  
     Abstract ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านถือว่าเป็นบุคลากรด่านหน้าในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคโควิด 19 การฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นถือเป็นหนึ่งมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรค เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิต แต่พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไม่ฉีดวัคซีนตามเป้าหมายที่กำหนด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ Case-control กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 294 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนครที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น และกลุ่มควบคุม คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนครที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Multiple logistic Regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา: เพศ และการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 มีความสัมพันธ์กับการไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพศชายไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น เป็น 1.86 เท่าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพศหญิง (ORadj = 1.86, 95% CI 1.00 – 3.44; p-value = 0.048) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น มีการรับรู้ต่ำด้านความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 เป็น 1.98 เท่าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีการรับรู้สูงด้านความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 (ORadj = 1.98, 95% CI 1.14 – 3.42; p-value = 0.015) ข้อเสนอแนะ: ควรมีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการรับรู้ถึงความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 และต้องคอยกำกับไม่ให้เกิดข้อมูลที่คลาดเคลื่อนที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับโรคหรือวัคซีนโควิด 19 เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นเพิ่มมากขึ้น 
     Keyword อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, วัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น 
Author
645110075-0 Miss NARUEMON KOTCHAKHUENG [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0