2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจสอบการเคลื่อนไหวและติดตามเชิงพื้นที่: การปรับใช้ในฉากทัศน์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด-19 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 กันยายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา 
     มาตรฐานของวารสาร OTHER (TCI 2) 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 34 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ความก้าวหน้าของระบบปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุใด ๆ ผ่านกล้องวงจรปิดที่มีอยู่ในปัจจุบันเมื่อนำมาผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศนับเป็นประเด็นที่น่าสนใจและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการวิศวกรรมสำรวจที่สามารถใช้ในการบริหารจัดการความปลอดภัยทั้งในมิติของทรัพย์สินและสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นการแพร่ระบาดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อมวลมนุษยชาติอย่างมหาศาล แนวทางหนึ่งในการป้องกันคือการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลที่ควรจะอยู่ห่างเกิน 2 เมตร ดังนั้น การระบุตำแหน่งของบุคคลในสถานที่ต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยการสืบสวนโรค สิ่งนี้นับเป็นโจทย์วิจัยที่สำคัญในการนำเอากล้องวงจรปิดมาผสมผสานกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศภายในอาคารร่วมกับการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจติดตามการเคลื่อนไหวมาใช้ในการระบุตำแหน่ง และสิ่งสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกันคือ การแปลงค่าพิกัด จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการแปลงค่าพิกัดแบบสมการสมพรรคร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจติดตามการเคลื่อนไหวของบุคคลสำหรับใช้ในการกำหนดตำแหน่งในระบบพิกัดของห้องภายในอาคาร โดยงานวิจัยนี้ได้มีการวิเคราะห์การเชื่อมโยงกล้องที่มีจำนวนมากกว่า 1 ตัว ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของบุคคลที่ได้จากการประยุกต์ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจติดตามการเคลื่อนไหวมาใช้ในการระบุตำแหน่งควบคู่กับการแปลงค่าพิกัดแบบสมการสมพรรค โดยมีประสิทธิภาพในการระบุตำแหน่งที่ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.5 เมตร ซึ่งเป็นระดับความคลาดเคลื่อนที่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เนื่องจากมีขนาดน้อยกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของบุคคลทั่วไป และถึงแม้ว่าในปัจจุบันโรคโควิด-19 จะมีการบรรเทามาตรการรักษาระยะห่างระหว่างบุคลลงไป แต่ผลการศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่า ในอนาคตหากมีการระบาดของโรคอื่น ๆ ที่ต้องมีการบังคับใช้มาตรการรักษาระยะห่างเช่นเดียวกันนี้ ผลการศึกษาจากการศึกษาวิจัยนี้ก็นับได้ว่าเป็นผลการศึกษาที่สามารถนำไปปรับใช้ได้เลยในทันที 
     คำสำคัญ การตรวจจับวัตถุ; โควิด-19; การรักษาระยะห่างทางสังคม; ภูมิสารสนเทศภายในอาคาร 
ผู้เขียน
625040077-3 นาย อนวัช เกรียงเกษม [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ
625040074-9 นาย เทพนรินทร์ นาหนองตูม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0