ชื่อบทความ |
คุณสมบัติของเถ้าลอยแคลเซียมสูงจีโอโพลิเมอร์เพสต์ผสมเศษอิฐมอญบดละเอียด |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
6 ธันวาคม 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน |
ISBN/ISSN |
2672-9369 |
ปีที่ |
15 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กันยายน - ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2565 |
หน้า |
40 - 56 |
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของจีโอโพลิเมอร์เพสต์ที่ใช้เถ้าลอยแคลเซียมสูงผสมเศษอิฐมอญบดละเอียด วัสดุหลักใช้คือ เถ้าลอยแคลเซียมสูงจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เศษอิฐมอญบดละเอียดใช้แทนที่เถ้าลอยแคลเซียมสูงในอัตราส่วนร้อยละ 0 25 50 75 และ 100 โดยน้ำหนัก สารละลายอัลคาไลใช้สารละลายโซเดียมซิลิเกตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 10 โมลาร์ในอัตราส่วนเท่ากับ 1.0 กำหนดอัตราส่วนสารละลายอัลคาไลต่อวัสดุผงคงที่เท่ากับ 0.60 ทุกอัตราส่วนผสม ทดสอบคุณสมบัติของจีโอโพลิเมอร์เพสต์ ได้แก่ ค่าการไหลแผ่ ระยะเวลาการก่อตัว กำลังรับแรงอัดและวิเคราะห์โครงสร้างทางจุลภาคโดยใช้ SEM/EDS, XRD และ FTIR ผลวิจัยพบวา่ เศษอิฐมอญบดละเอียดเป็นวัสดุซิลิกาที่มีความเป็นผลึกสูง การเพิ่มขึ้นของปริมาณเศษอิฐมอญบดละเอียดในส่วนผสมช่วยเพิ่มให้ระยะเวลาการก่อตัวนานขึ้น ในขณะที่การไหลแผ่และกำลังอัดลดลงผลการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคแสดงให้เห็นว่าสารประกอบ C-S-H หรือ C-A-S-H และเจลจีโอโพลิเมอร์ ได้ก่อ ตัวขึ้นในจีโอโพลิเมอร์เพสต์ เมื่อใช้เศษอิฐมอญบดละเอียดแทนที่เถ้าลอยแคลเซียมสูงจะเกิดผลึกและอนุภาคที่ไม่ทำปฏิกิริยามากขึ้นส่งผลเสียต่อคุณสมบัติทางกลในช่วงอายุต้น อย่างไรก็ตามในอัตราส่วนการแทนที่ร้อยละ 25 - 50 จะมีค่ากำลังรับแรงอัดที่อายุ 60 วันตํ่ากว่าตัวอย่างควบคุมเล็กน้อย |
คำสำคัญ |
จีโอโพลิเมอร์เพสต์, เถ้าลอยแคลเซียมสูง, เศษอิฐมอญบดละเอียด, โครงสร้างทางจุลภาค |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|