2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการบริหารกายด้วยท่าฤาษีดัดตนและสไลม์พอกเข่าสมุนไพรในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 ตุลาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสุขศึกษา 
     มาตรฐานของวารสาร OTHER (ํ้Thai Journal of Health Education) 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 46 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2566
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคข้อที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนข้อต่อ การเปลี่ยนแปลงเกิดจากกระบวนการเสื่อมที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจทวีความรุนแรงขึ้นเข่าแบกรับน้ำหนักมากเกินไปทำให้กระดูกเสื่อมเร็ว เป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะทุพพลภาพ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนร่วมกับสไลม์พอกเข่าสมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองสองกลุ่ม จำนวน 60 คน กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ประกอบด้วยการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรรับรู้อุปสรรค การปฏิบัติตัวด้านการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม การวัดระดับความเจ็บปวดด้วยแบบประเมินความรุนแรง และการบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนร่วมกับการพอกเข่าด้วยนวัตกรรมสไลม์พอกเข่าสมุนไพร ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนในครั้งแรกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งสองกลุ่มใช้ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม การรับรู้ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม การรับรู้ประโยชน์ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม การรับรู้อุปสรรคในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม การปฏิบัติตัวด้านการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม การวัดระดับความเจ็บปวดด้วยแบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนในแต่ละด้านมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p>0.05 นอกจากนี้ยังพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean diff 9.53, p-value <0.001, 95% CI = 8.25 ถึง 10.81) และน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean diff 4.20, p-value <0.001, 95% CI = 2.80 ถึง 5.60) ดังนั้น โปรแกรมการบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนร่วมกับสไลม์พอกเข่าสมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ 
     คำสำคัญ ข้อเข่าเสื่อม, การบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน, สไลม์พอกเข่า, โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ 
ผู้เขียน
645110088-1 น.ส. สุพัตรา สักขาพรหม [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0