2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวและการประเมินมูลค่านันทนาการ ของถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 ตุลาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวในการมาท่องเที่ยวที่ถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา 2) เพื่อประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการของถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบบแผนคู่ขนาน โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 ท่าน จากการสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับการศึกษาถึงความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว และแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 420 ชุด โดยการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งจะทำการแจกแบบสอบถามให้แก่อาสาสมัคร และรับคืนแบบสอบถามด้วยตนเอง สำหรับการศึกษา เพื่อประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยปัวซอง ผลการศึกษาพบว่า 1) ขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ สำหรับการประกอบกิจกรรมนันทนาการในพื้นที่เท่ากับ 118 คนต่อรอบ โดยแบ่งเป็น 8 รอบ หรือ 944 คนต่อวัน และยังพบปัญหาในการเดินทาง คือ จำนวนห้องน้ำไม่เพียงพอ เนื่องจากเป็นพื้นที่อุทยานจึงไม่สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างถาวรได้ และยังมีการเดินทางที่เป็นอุปสรรค เนื่องจากจำเป็นต้องเดินเท้าขึ้นไป โดยมีบันไดและทางธรรมชาติสลับเป็นช่วง และในบางจุด จำเป็นต้องใช้เชือกในการพยุงตัว 2) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาส่วนใหญ่มีความเชื่อ ในเรื่องของพญานาค โดยมีมูลค่าผลประโยชน์เชิงนันทนาการ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 คิดเป็นส่วนเกินผู้บริโภคเท่ากับ 5,758 บาทต่อคนต่อครั้ง จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย 233,800 คนต่อปี หรือ 1,346,220,400 บาทต่อปี จากผลการศึกษา ภาครัฐ 1) ควรมีนโยบายเพื่อตรวจสอบและควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวในแต่ละวันไม่ควรเกิน 944 คนต่อวัน โดยแบ่งเป็น 8 รอบต่อวัน ควรจำกัดเวลาในการเข้าชมต่อกลุ่มไม่เกิน 15 นาทีต่อกลุ่ม และควรกำหนดเวลาเริ่มต้นในการเดินขึ้นอย่างชัดเจน 2) ควรมีการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในบางสถานที่ เพื่อนำมาเป็นส่วนในการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งควรศึกษาถึงการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสำหรับผู้สูงอายุ และควรมีการส่งเสริมรายการนำเที่ยวตามเส้นทางตามความเชื่อในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง ให้มีความเชื่อมโยงกัน  
     คำสำคัญ ความสามารถในการรองรับ การประเมินมูลค่า ถ้ำนาคา การท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ 
ผู้เขียน
645450001-4 น.ส. พรพิมล แสงชาติ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสหวิทยาการ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0