|
ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
|
ชื่อบทความ |
ประสบการณ์การใช้กัญชาในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
3 กรกฎาคม 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารโรคมะเร็ง |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
National Cancer Institute 268/1 Rama VI Rd, Thung Phaya Thai Sub-district, Ratchathewi District, Bangkok, Thailand |
ISBN/ISSN |
ISSN: 0125-2038 (PRINT), ISSN: 2730-2237 (ONLINE) |
ปีที่ |
|
ฉบับที่ |
|
เดือน |
|
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
อาการทางคลินิกของผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคองพบมากที่สุดคืออาการปวด ร้อยละ 90 เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง การรักษาอาการปวดที่ผู้ป่วยได้รับได้แก่ ยามอร์ฟีน ยากลุ่มโอปิออยด์ ปัจจุบันรัฐบาลแก้ไขกฎหมายให้นำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ได้ แต่พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ยาจากนอกระบบบริการสาธารณสุข ทำให้ไม่มีข้อมูลผลการใช้ว่าเป็นอย่างไร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้กัญชาของผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่นำมาใช้ในการวิจัยนี้คือการศึกษาเฉพาะกรณี เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคองจำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบ Thematic Analysis ผลการศึกษา ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 27-74 ปี อายุเฉลี่ย 59.55 ปี ระยะเวลาที่เริ่มป่วยเป็นโรคมะเร็งตั้งแต่ 8 เดือน – 9 ปี ระยะเวลาป่วยเฉลี่ย 2.31 ปี ประสบการณ์การใช้กัญชาแบ่งเป็น 5 ประเด็นหลัก คือ 1) การตัดสินใจใช้กัญชาเพราะเป็นทางเลือกสุดท้าย เห็นตามข่าวว่ากัญชารักษาโรคมะเร็ง ได้ยินคำบอกเล่าจากผู้อื่น ศึกษาข้อมูลตามเอกสาร ตำรา วารสารต่างๆ และ กลัวความตาย อยากอยู่แบบไม่ทรมาน อยากอยู่แบบไม่กังวล เป็นต้น 2) รูปแบบกัญชาที่ใช้ได้แก่ สารสกัดกัญชา น้ำมันกัญชา กัญชาสด กัญชาแห้ง 3) แหล่งที่มาของกัญชาได้แก่ โรงพยาบาล ปลูกเอง ซื้อ ลูก/หลาน/เพื่อนนำมาฝาก 4) วิธีการใช้กัญชาได้แก่ หยดใต้ลิ้น รับประทาน ต้มดื่ม สูบ เป็นต้น 5) ผลทางคลินิกของกัญชาได้แก่ ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น รับประทานอาหารได้มากขึ้น ผ่อนคลาย อารมณ์ดี ลดอาการปวด ไม่วิตกกังวล ไม่เหนื่อยง่าย มีแรงมีกำลังมากขึ้น สุขภาพดีกว่าเดิม ผิวพรรณดี หน้าตาสดชื่นขึ้น เป็นต้น สรุปผลประสบการณ์ของการใช้กัญชาในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคองสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันคือทิศทางบวก ผู้ป่วยต้องการใช้กัญชาต่อเนื่องในการรักษาโรคมะเร็ง ข้อเสนอแนะควรให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถปลูกกัญชาเพื่อใช้รักษาตนเองได้ เนื่องจากเข้าถึงง่าย ไม่มีค่าใช้จ่าย มีความปลอดภัย ผลข้างเคียงต่ำ สุขภาพดีขึ้น
Abstract
Pain is the most common clinical symptom that 90 per cent of cancer patients experience. It is the primary factor that diminishes patients' quality of life. Patients with cancer are palliatively treated with opioids. Currently, the Thai government has enacted legislation to allow cannabis for medical use, but it has been found that most patients are receiving drugs from outside the public health system. Therefore, information on how cannabis can be used is limited. The study explored the experience of patients with palliative cancer who used cannabis. The study design was qualitative research. The data were collected using in-depth interviews of 20 patients with palliative cancer. The data were analyzed by thematic analysis. The study found that the patients aged between 27-74 years, and the mean age was 59.55 years, the onset of cancer was eight months - 9 years, and the mean duration of illness was 2.31 years. The experience of cannabis use was divided into five main issues: 1) deciding to use cannabis as a last resort, seeing on the news that cannabis cures cancer, hearing/telling stories from others, studying information in textbooks and journals, and fear of dying, want to live without suffering, and want to live without worry 2) The forms of cannabis used were cannabis extract, cannabis oil, fresh cannabis, and dried cannabis. 3) Sources of cannabis included hospitals, self-cultivation, Self-bought, and deposition by siblings/grandchildren/friends. 4) Methods for using cannabis included dropping under the tongue, eating, boiling, and smoking 5) Clinical outcomes of cannabis included improved sleep, eating more, relaxation, good mood, less pain, less anxiety, less tiredness, more energy, better health, better skin, and a fresher look. In conclusion, the experience of cannabis use in patients with palliative cancer was consistent in the positive direction, and patients want to continue using cannabis for cancer treatment. It is recommended that cancer patients be granted permission to grow cannabis for self-treatment due to its ease of access, affordability, safety, minimal side effects, and potential for improved health outcomes.
|
คำสำคัญ |
ประสบการณ์การใช้กัญชา กัญชาทางการแพทย์ ผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง Experience of cannabis, Medical cannabis, Patients with palliative cancer |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|
|
|
|
|
|