2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษารูปแบบบ้านชนบทในภาคอีสาน กรณีศึกษา ตำบลหนองซอน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 มิถุนายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สถาปัตย์กระบวนทัศน์ ประจําปี พ.ศ. 2566 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
     สถานที่จัดประชุม online 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 มิถุนายน 2566 
     ถึง 20 มิถุนายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่) 1/2566 
     หน้าที่พิมพ์ 283-296 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในอดีต ทั้งที่เป็นอาคารพักอาศัย อาคารทางศาสนา ล้วนเกิดขึ้นจากวิถีชีวิต วัฒนธรรม สภาพสังคม และประเพณีความเชื่อของคนในยุค ซึ่งทำให้เกิดคุณค่าและเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นมาและสภาพวิถีชีวิตการเป็นอยู่ของคนในอดีต ซึ่งศิลปะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “ภาคอีสาน” มีเอกลักษณ์ท้องถิ่นของตนเองที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆในประเทศ และได้มีการสั่งสมศิลปะวัฒนธรรมของตนเองอย่างเด่นชัด ทั้งทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี สถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารทางพุทธศาสนา และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น ที่พักอาศัยของชาวอีสาน บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสภาพแวดล้อมของบ้านชนบทภาคอีสานและเก็บข้อมูลพื้นฐานทางรูปแบบบ้านชนบทอีสาน ในพื้นที่กรณีศึกษา ตำบลหนองซอน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบว่ายังมีเรือนพักอาศัยที่ยังคงมีแบบแผนการก่อสร้างมาจากในอดีตหลงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อย แต่ในปัจจุบันเรือนพักอาศัยเริ่มมีการเปลี่ยนตามสมัยใหม่จากการรับวัฒนธรรมของหลายภูมิภาคเข้ามา ทำให้สภาพบ้านเรือนชนบทอีสานในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านรูปแบบอาคาร วัสดุ และค่านิยมของเจ้าของบ้านที่ทำให้รูปแบบการใช้งานของอาคารเปลี่ยนแปลงจากอดีต เกิดเป็นสิ่งก่อสร้างที่อำนวยความสะดวกสบายต่อผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน และพบว่าในพื้นที่ศึกษามีลักษณะชุมชนที่มีการพัฒนารูปแบบที่พักอาศัยตามยุคสมัยมาโดยตลอด พบเห็นได้จากรูปแบบบ้านส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนต่อเติมวัสดุใหม่และเพิ่มพื้นที่ใช้งาน อีกทั้งในปัจจุบันเริ่มพบเห็นการก่อสร้างบ้านปูนสมัยใหม่มากขึ้น และพบบ้านไม้ดั้งเดิมเพียงไม่กี่หลังในชุมชน  
ผู้เขียน
645200014-9 น.ส. อรัญญา รัตนฐานู [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum