2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การอนุรักษ์อาหารพื้นถิ่น “หมี่กุดจิก” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 ตุลาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสาร journal of Roi Kaensarn Academi 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่ บจก. พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่ 141 หมู่ 6 ตำบลบ้านชัย อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า  
     บทคัดย่อ หมี่กุดจิกเป็นต้นตำรับโบราณของหมี่โคราช ซึ่งเป็นอาหารที่แสดงถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่นของชุมชน กุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จากปัญหาด้านกำลังการผลิต ด้านการตลาด และผู้สืบทอดการทำหมี่กุดจิก การอนุรักษ์อาหารพื้นถิ่นหมี่กุดจิกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการอนุรักษ์อาหารพื้นถิ่น ที่มีส่งผลต่อการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงอาหารตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเสนอแนวทางการอนุรักษ์อาหารพื้นถิ่น “หมี่กุดจิก” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 การเก็บข้อมูลมีทั้งในรูปแบบเชิงคุณภาพและปริมาณ ด้วยการสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และการใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Form กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว และซื้อผลิตภัณฑ์ของชุมชนภายในชุมชนกุดจิก ผู้ให้ข้อมูล คือ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และชุมชน ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรมในพื้นที่ ปัจจัยด้านคุณประโยชน์ และปัจจัยด้านสถานที่การเข้าถึง ส่งผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จึงนำมาเสนอแนวทางการอนุรักษ์อาหารพื้นถิ่น “หมี่กุดจิก” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้แก่ แนวทางด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมในพื้นที่ แนวทางด้านคุณประโยชน์ และแนวทางด้านสถานที่การเข้าถึง ผลการวิจัยนี้ส่งผลให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นต้นแบบเพื่อส่งเสริมเป็นการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารได้  
     คำสำคัญ อาหารพื้นถิ่น; หมี่กุดจิก; การท่องเที่ยวเชิงอาหาร; ไทยแลนด์ 4.0; การตลาดออนไลน์ 
ผู้เขียน
625210057-3 น.ส. ชนิชา หิรัญธนาภัทร [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0