ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ผลกระทบจากการเบนแนวทางดิ่งต่อความเร็วรถ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
1 มิถุนายน 2566 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
สถานที่จัดประชุม |
โรงแรมภูเก็ต เกรซแลนด์ รีสอร์ท แอน สปา |
จังหวัด/รัฐ |
ภูเก็ต |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
24 พฤษภาคม 2566 |
ถึง |
26 พฤษภาคม 2566 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2566 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
TRL-26 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การเบนแนวทางดิ่งเป็นเทคนิคการสยบการจราจรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อควบคุมความเร็วรถ การติดตั้งเนินเปลี่ยนระดับถนน ซึ่งผู้ขับขี่จะปรับความเร็วเพื่อรักษาระดับความสบายขณะเคลื่อนผ่าน มาตรการนี้พัฒนาขึ้นในบริบทถนน สภาพการจราจรและพฤติกรรมของผู้ขับขี่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงมีข้อกังขาต่อประสิทธิภาพเมื่อถูกนำมาใช้ควบคุมความเร็วรถในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของการเบนแนวทางดิ่งต่อความเร็วรถและ 2) ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการลดความเร็วของผู้ขับขี่ การศึกษานี้ใช้อากาศยานไร้คนขับบันทึกพฤติกรรมของผู้ขับขี่บริเวณเนินชะลอความเร็ว 3 แห่ง และเนินราบชะลอความเร็ว 6 แห่ง เนินมีขนาดที่หลากหลาย กว้าง 4 ถึง 14 เมตร สูง 5 ถึง 14 เซนติเมตร และชัน 1:43 ถึง 1:20 การศึกษาสังเกตความเร็วรถยนต์ 1,068 คัน และรถจักรยานยนต์ 840 คัน ทุกระยะ 10 เมตรในช่วง 50 เมตรก่อนและหลังเนิน สร้างกราฟหน้าตัดความเร็วและระบุปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการลดความเร็วด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่ารถเคลื่อนผ่านเนินด้วยความเร็วเฉลี่ย 25-37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นต์ไทล์ 29-44 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้บนถนนช่วงก่อนหน้า ความเร็วของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลง 18-46 % และ 12-34 % ตามลำดับ เนินสามารถควบคุมความเร็วรถในช่วง 20-30 เมตรก่อนและหลังตำแหน่งติดตั้ง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการลดความเร็วได้แก่ ความเร็วขณะสัญจรบนช่วงถนนก่อนหน้า รูปทรงของอุปกรณ์ และประเภทรถ โดยเนินส่งผลกระทบต่อรถยนต์มากกว่ารถจักรยานยนต์ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|