ชื่อบทความ |
ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และแรงสนับสนุนทางสังคม |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
15 พฤศจิกายน 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารสุขศึกษา |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
46 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
กรกฏาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต และความพิการในระยะยาวที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองสองกลุ่ม จำนวน 60 คน ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมที่ผู้วิจัยจัดขึ้น โดยมีกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง การบรรยายสร้างการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบสื่อวีดีทัศน์ การใช้บุคคลต้นแบบ การใช้โมเดลอาหารตัวอย่าง การสาธิตการออกกำลังกาย การฝึกสมาธิ การเลือกอาหารสุขภาพ และใช้นวัตกรรมหัวใจ 3 สีบ่งชี้สุขภาพ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการรักษาตามปกติ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ความสามารถในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P<0.05 นอกจากนี้ยังพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตตัวบน (SBP) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean diff = -16.83, 95%CI = -20.81 ถึง -12.84, P-value <0.001) และภายหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตตัวล่าง (DBP) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean diff = -8.17, 95%CI = -12.14 ถึง -4.19, P-value = 0.001) ดังนั้น โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมนี้ สามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้
|
คำสำคัญ |
ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค/ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง/โรคความดันโลหิตสูง |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|