2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ โครงการตุ๊กตาข้อต่อเซรามิกแรงบันดาลใจจากตัวละคร ฮูปแต้มอีสานเรื่อง สินไซ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 1 กันยายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2566 (FAR9) Philosophy and Practice of Asean Art ทักษะ ศิลปะ ปรัชญา แห่งอุษาคเนย์ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 กันยายน 2566 
     ถึง 2 กันยายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 223 - 215 
     Editors/edition/publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการผลิตตุ๊กตาข้อต่อรูปแบบกระบวนการเซรามิค และ ออกแบบตัวละครฮูปแต้มอีสาน เรื่องสินไซ โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ สื่ออินเทอร์เน็ต ข้อมูลในการลงพื้นที่จากการสัมภาษณ์นักออกแบบ 3 ท่านและทำการวิเคราะห์ตุ๊กตาข้อต่อ (BJD) โดยการใช้เครื่องมือวิจัยแบบสัมภาษณ์แบบคุณภาพ สรุปได้ดังนี้ การออกแบบตัวละครฮูปแต้มอีสานเรื่องสินไซ ได้มีการศึกษาข้อมูลจากการลงพื้นที่ วัด 1.สระบัวแก้ว 2.วัดสนวนวารีพัฒนาราม 3.ไชยศรี พบว่า ลักษณะภาพวาดมีความโดดเด่นแตกต่างกันไป ในงานวิจัยนี้ได้เลือก วัดสนวนวารีพัฒนาราม เพราะมีความชัดเจนในเรื่องรายละเอียดของการตัดเส้น ลักษณะตัวละครมีลักษณะสมส่วน เนื่องจากมีตัวละครที่โดดเด่นภาพเรื่องราวมีท่าทางการเล่าเรื่องที่มีความสนุกสนานเข้าใจง่าย มีการวิเคราะห์ฉากและตัวละครได้เลือกฉากงู ซวง จากทั้งหมด 9 ฉาก ฉากงูซวง เป็นฉากที่สื่อความหมายแฝง สามารถทำให้ผู้ชมรับรู้ความหมายได้ดี ในเรื่องการสื่อสารของช่างพื้นบ้าน โดยการวาดภาพอย่างตรงไปตรงมาตามจินตนาการความศรัทธา ของช่างพื้นบ้าน ซึ่งฉากนี้เป็นสัญลักษณ์ที่มีความคุ้นเคยของผู้รับสารซึ่งทำให้เข้าใจง่าย จึงทำให้ฉากงูซวง ปรากฏในวัดทางอีสาน ในฉากนี้มี 4 ตัวละคร 1.หอยสังข์ 2.สินไซ 3.สีโห 4.งูซวง จากการศึกษาได้นำทฤษฎีสัญญะของเดอโซซูมาใช้ในเรื่องการวิเคราะห์ลักษณะท่าทางการแสดงของภาพนำมาวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อให้ได้แนวทางในการออกแบบ ซึ่งตีความได้ เป็น 3 แนวทาง 1.ความดั้งเดิม 2.ร่วมสมัย 3.แฟนตาซี โดยมีผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ มีความพึงพอใจในรูปแบบแนวทางที่ 3แฟนตาซีมากที่สุด โดยให้มีการปรับปรุงแก้ไขสัดส่วนตัวละครให้อ้างอิงตามแรงบันดาลใจในฉากงูซวง โดยการศึกษากระบวนการผลิตตุ๊กตาข้อต่อรูปแบบกระบวนการเซรามิค พบว่า ข้อต่อในรูปแบบตุ๊กตา BJD นั้นมี 2 ประเภท มีแบบข้อต่อปล้องเดี่ยวและปล้องคู่ ซึ่งในโครงการนี้มีเลือกใช้ระบบข้อต่อแบบปล้องเดี่ยวเนื่องจาก มีการประกอบที่ไม่ซับซ้อนเหมาะกับงานเซรามิค กระบวนการผลิตตุ๊กตา BJD เซรามิค ผลิตด้วยวิธีการหล่อโดยใช้แม่พิมพ์ ใช้ดินพอซเลน รหัส PAA บริษัท คอมเพาว์เคลย์ เผาที่อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส หดตัวที่ร้อยละ 15 ทดลองผสมดินสีด้วยสีสเตนลงในเนื้อดินจำนวน 6 สี เลือกปริมาณการใส่สี ที่ ร้อยละ 0.5 เนื่องจากจะได้เนื้อสีมีความเหมาะสมและใกล้เคียงกับโทนสีฮูปแต้มวัดสนวนวารีพัฒนาราม ซึ่งเทคนิคการใช้ในงานเซรามิคได้มีการทดลองเขียนน้ำดินโดยการที่จะให้น้ำดินมีการยึดเกาะผิวที่ดีควรใช้น้ำดินที่มีความหนืดเนื้อเป็นครีมจะช่วยให้การเขียนคล่องตัวได้ดี ผลการวิจัยได้มีการออกแบบตัวละครทั้งหมด 4 ตัวละครจากฉากงูซวงโดยมีผลการประเมินการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมีความเห็นพึงพอในในรูปแบบ แฟนตาซี จึงมีการสร้างสรรค์ ตัวละครดังนี้ 1) สินไซ ขนาดความสูง 21 ซม. 2) หอยสังข์ ขนาดความสูง 24 ซม. 3) สีโห ขนาดความสูง26 ซม. 4) งูซวงขนาดความสูง28ซม. เพื่อให้ขนาดมีสัดส่วนของตัวละครแต่ละตัวใกล้เคียงกับเรื่องราวในวรรณกรรมสินไซ ซึ่งรูปแบบตุ๊กตาเลือกใช้รูปแบบตุ๊กตาข้อต่อแบบปล้องเดี่ยว ใช้เทคนิคการตกแต่งด้วยน้ำดินสี ใช้น้ำดินสีโทนสีลักษณะใกล้เคียงที่ปรากฏบนภาพจิตรกรรมฝาผนัง(ฮูปแต้ม)กระบวนการผลิตใช้เนื้อดินพอซเลนPAAดินหล่อเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมในการทำตุ๊กตาเนื่องจากเป็นดินที่มีคุณสมบัติที่มีความแข็งแกร่งและมีน้ำหนักที่เบาใช้แม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ในการผลิตซ้ำเพื่อเพิ่มจำนวนชิ้นงานในรูปแบบอุตสาหกรรม ซึ่งผลการออกแบบมีความสอดคล้องในวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  
ผู้เขียน
635200020-3 น.ส. ภัทริญาร์ มีแสงแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0