2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การศึกษาปัญหาเกี่ยวกับยาเมทิลเฟนิเดตในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้น ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย 
Date of Acceptance 4 December 2023 
Journal
     Title of Journal วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 
     Standard TCI 
     Institute of Journal สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 
     ISBN/ISSN 0125-6985 
     Volume 68 
     Issue
     Month ตุลาคม - ธันวาคม
     Year of Publication 2023 
     Page  
     Abstract บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและรายละเอียดของปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาเมทิลเฟนิเดตในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่เป็น โรคสมาธิสั้นในสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการศึกษา การศึกษาแบบตัดขวางในผู้ป่วยอายุ 6 ถึง 18 ปี ที่ได้รับการรักษาโรคสมาธิสั้นด้วยยาเมทิลเฟนิเดต ณ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง มกราคม พ.ศ. 2566 โดยศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาเมทิลเฟนิเดต ด้วยเครื่องมือ The Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE) version 9.1 ร่วมกับ Naranjo’s algorithm และทำการวิเคราะห์แจกแจงประเภทและลักษณะของปัญหา สาเหตุ วิธีการแก้ไข และการยอมรับต่อการแก้ไขปัญหาในรูปของความถี่และเปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษา ผู้ป่วย 286 คน มีอายุเฉลี่ย 10.5 ± 2.9 ปี ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.3) เป็นเพศชาย มีมัธยฐานระยะเวลาที่เป็นโรคสมาธิสั้น 2.0 ปี (พิสัยควอไทล์ 0.8 ถึง 4.1 ปี) และมีมัธยฐานของระยะเวลาที่ได้รับยาเมทิลเฟนิเดต 1.0 ปี (พิสัยควอไทล์ 0.4 ถึง 2.9 ปี) โดยพบว่าเกิดปัญหาเกี่ยวกับยาเมทิลเฟนิเดตในผู้ป่วย 152 ราย (161 เหตุการณ์) คิดเป็นความชุกร้อยละ 53.1 โดยพบว่าปัญหาด้านความปลอดภัยในการรักษา ร้อยละ 56.5 ซึ่งทั้งหมดเกิดจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และปัญหาด้านประสิทธิภาพการรักษาร้อยละ 43.5 โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยที่สุดสามอันดับแรก คือ เบื่ออาหาร (ร้อยละ 57.1) แคะแกะเล็บ (ร้อยละ 7.7) และนอนไม่หลับ (ร้อยละ 7.7) ปัญหาด้านประสิทธิภาพเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 94.3) เกิดจากความรู้และพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น ไม่ใช้ยา ใช้ยาน้อยกว่าหรือมากกว่าที่แพทย์สั่ง ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการรักษา ในการจัดการกับปัญหาพบว่า ทั้งปัญหาด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัย สามารถแก้ไขได้ที่ผู้ป่วย ร้อยละ 96.3 มีเพียงร้อยละ 2.5 ที่เป็นการจัดการแก้ไขที่บุคลากรทางการแพทย์ และร้อยละ 1.2 แก้ไขที่การเปลี่ยนยา โดยเภสัชกรให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนยาและการบริหารยา ในด้านการยอมรับต่อการแก้ไขปัญหาจากผู้ป่วยหรือบุคลากรทางการแพทย์ พบว่ามีการยอมรับ ร้อยละ 100.0 สรุป ในการศึกษานี้พบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาเมทิลเฟนิเดตในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้น ทั้งด้านประสิทธิภาพในการรักษาและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา จึงควรมีการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วยโดยบูรณาการร่วมกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการให้ความรู้และสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยป้องกันปัญหา หรือตรวจพบและแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดผลลัพธ์การรักษาที่ดี  
     Keyword อาการไม่พึงประสงค์จากยา ปัญหาการใช้ยา ความชุก เด็กและวัยรุ่น โรคสมาธิสั้น ยาเมทิลเฟนิเดต 
Author
635150025-0 Mr. CHAINARONG SRILACORN [Main Author]
Pharmaceutical Sciences Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0