2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินความเสียหายของถนนจากการทดสอบด้วยเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 สิงหาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)  
     ISBN/ISSN 2730-1761 
     ปีที่ 34 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 65-79 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวคิดในการประยุกต์ใช้เครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ (Nuclear Gauge) มาใช้ในการประเมินความเสียหายของถนน โดยใช้ค่าความหนาแน่นแห้งที่อ่านได้จากเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์เป็นเกณฑ์ประเมินความเสียหายและกำหนดกิจกรรมในการซ่อมบำรุงรักษาถนน งานวิจัยนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยทำการสร้างกล่องทดสอบเพื่อจำลองสภาพโครงสร้างถนนโดยมีวัสดุในรูปแบบแตกต่างกันและเปรียบเทียบการใช้เครื่องมืออ่านค่าด้วย วิธีหักเหกลับของรังสี (Backscatter, BS) และวิธีส่งผ่านโดยตรงของรังสี (Direct Transmission, DT) เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาในสนาม จากการศึกษาพบว่าการอ่านค่าด้วยวิธีหักเหกลับของรังสีมีความถูกต้องและแม่นยำเช่นเดียวกับวิธีส่งผ่านโดยตรงของรังสี และการอ่านค่าความหนาแน่นแห้งผ่านวัสดุชนิดเดียวและผ่านวัสดุสองชั้นที่ต่างประเภทกัน ให้ค่าความหนาแน่นแห้งที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภท ความหนา และความแข็งแรงของวัสดุ สำหรับส่วนที่สองเป็นการศึกษาในสนามถนนกรณีศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลค่าความหนาแน่นแห้งที่อ่านได้จากเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ร่วมกับค่าการแอ่นตัว (Deflection, DEF) ที่ได้จากข้อมูลเครื่องมือประเมินความแข็งแรงโครงสร้างทางด้วยตุ้มน้ำหนักกระแทก (Falling Weight Deflectometer, FWD) เป็นค่าอ้างอิงในการศึกษาในสนาม จากการศึกษาพบว่า ช่วงถนนที่มีค่า FWD มาก โครงสร้างถนนมีความแข็งแรงน้อย ค่าความหนาแน่นแห้งที่อ่านได้จะมีค่าน้อย และช่วงถนนที่มีค่า FWD น้อย โครงสร้างถนนมีความแข็งแรงดี ค่าความหนาแน่นแห้งที่อ่านได้จะมีค่ามาก จึงสรุปได้ว่าความหนาแน่นแห้งที่อ่านได้สอดคล้องตามค่า FWD แบบแปรผกผันซึ่งกันและกัน ดังนั้นผลการศึกษานี้สามารถใช้ค่าความหนาแน่นแห้งเป็นแนวทางสำหรับการประเมินความเสียหายของถนนเบื้องต้นได้  
     คำสำคัญ เครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์; การแอ่นตัว; เครื่องมือประเมินความแข็งแรงโครงสร้างทางด้วยตุ้มน้ำหนักกระแทก; วิธีหักเหกลับของรังสี; วิธีส่งผ่านโดยตรงของรังสี 
ผู้เขียน
645040018-1 น.ส. กมลทิพย์ ประคำมินทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0