2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ร่วมกับภาษีบำรุงท้องที่ 363 พ.ศ. 2508 และ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ด้วยหลักการภาษีที่ดี กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา A Comparative Study of The Property and Land Tax (B.E.2475) Together with The Local Maintenance Tax (B.E.2508) and, The Land and Building Tax (B.E.2562) by The Principal of Good Taxation; Case study Nong Bua Sala Subdistrict Administrative Organization, Maung District, Nakhon Ratchasima Province 
Date of Distribution 23 November 2023 
Conference
     Title of the Conference งานประชุมระดับชาติ โฮมภูมิ ครั้งที่ "โฮมดี มีแฮง-wee-Being Together" 
     Organiser คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่ร 
     Conference Date 23 November 2023 
     To 13 December 2023 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 363-377 
     Editors/edition/publisher ผศ.ดร ธนสิทธิ์ จันทะรี 
     Abstract การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ร่วมกับภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ด้วยหลักการภาษีที่ดี ผู้วิจัยเลือกกรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวสามารถเป็นตัวแทนของเมืองที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินหลากหลายประเภท ทำให้มีกรณีการศึกษาที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างครบถ้วนทุกประเภท ทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การพาณิชย์ การเกษตร และที่ดินว่างเปล่า ที่สอดคล้องประเภทของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ของพระราชบัญญัติภาษีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี พ.ศ. 2562 เพื่อให้ทราบแนวทางการลดผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี พ.ศ. 2562 รวมถึงเสนอแนะการปรับปรุงข้อจำกัดของภาษีในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดพื้นฐาน แนวทางการจัดเก็บภาษีและวิธีการจัดเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ จำนวนสามฉบับ (2) วิเคราะห์เปรียบเทียบศักยภาพการจัดเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ ระหว่างภาษีทั้งสามฉบับ ตามหลักการภาษีที่ดีสี่ประการของ Adam Smith (1973) และ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการลดผลกระทบด้านลบจากการใช้งานและเสนอแนวทางการปรับปรุงข้อจำกัดของภาษีฉบับปัจจุบัน (ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562) ให้สอดคล้องกับบริบทและเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่กรณีศึกษา กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีหน้าที่บทบาทเกี่ยวข้องกับเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และผู้มีหน้าที่เสียภาษี ในพื้นที่เป้าหมายของศึกษาคือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจพื้นที่ การสังเกตการณ์ การจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อหาผลลัพธ์การศึกษา โดยการเปรียบเทียบกับกรอบทฤษฎีในการวิจัยคือ หลักการภาษีที่ดีสี่ประการของ Adam Smith (1973) ) ประกอบด้วย หลักความแน่นอน หลักความเป็นธรรม หลักการอำนวยรายได้ และหลักความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 สอดคล้องหลักการของความแน่นอน แต่ไม่สอดคล้องเรื่องความเป็นธรรม การอำนวยรายได้ และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในบางประเด็น ส่วนแนวทางการลดผลกระทบด้านลบจากการใช้ภาษีฉบับปัจจุบัน มีข้อเสนอแนะ 3 แนวทางคือ การจัดการช่องว่างของกฎหมายในการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การยกเลิกข้อกฎหมาย และการช่วยเหลือทางภาษีแก่กลุ่มเกษตรกรอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม  
Author
625200005-8 Mr. WIRAWIT KLOMKLANG [Main Author]
Architecture Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0