2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับสหวิชาชีพในคลินิกกัญชา ทางการแพทย์แผนไทย ณ โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 2 สิงหาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเภสัชกรรมไทย (Thai Journal of Pharmacy Practice ) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     ISBN/ISSN 1906-5574 
     ปีที่ 16 
     ฉบับที่
     เดือน ต.ค.-ธ.ค.พ.ศ.2567
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า 1-18 
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับสหวิชาชีพ ณ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง (คลินิกกัญชาฯ) วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในระยะวางแผน โดยเริ่มจากเก็บข้อมูล เกี่ยวกับปัญหาจากการใช้ยา (drug related problems: DRPs) จากแบบบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยจ านวน 120 คนซึ่งเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ณ คลินิกกัญชาฯ หลังจากนั้นผู้วิจัยคัดเลือกผู้ป่ วยแบบเฉพาะเจาะจงจ านวน 19 คน เพื่อ สัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมความร่วมมือในการใช้น ้ามันกัญชา หลังจากนั้นออกแบบขั้นตอนและรูปแบบการบริบาลทาง เภสัชกรรมร่วมกันในทีมสหวิชาชีพโดยวิธีการสนทนากลุ่มกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องจ านวน 13 คน โดยน าข้อมูล DRPs ที่ได้จากผู้ป่วยมาพิจารณาพร้อมประยุกต์ใช้เครื่องมือลีนในการออกแบบ ผลการศึกษา: การศึกษาพบว่า DRPs ส่วนใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัย คือ พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ผลการสัมภาษณ์ผู้ป่วยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือใน การรักษาด้วยยาได้แก่ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ด้านยา ด้านบุคลากรทางการแพทย์และระบบบริการ ด้านโรคที่เป็น และด้านสังคมและ เศรษฐศาสตร์ การปรับปรุงขั้นตอนและรูปแบบการให้บริบาลเภสัชกรรมโดยใช้แนวคิดระบบลีน มีการเพิ่มบทบาทของทีมสห วิชาชีพ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพท าหน้าที่ซักประวัติ คัดกรอง ประเมินภาวะเสพติด และให้ความรู้เรื่องโรคร่วมหรือโรคประจ าตัว แก่ผู้ป่วย เภสัชกรมีหน้าที่ค้นหาและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา การประสานรายการยา การให้ความรู้เรื่องโรคและยากัญชาผ่าน คลิปวิดีโอ การตั้งกลุ่มไลน์ระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรายงานและสอบถามอาการข้างเคียงจากยาได้อย่าง ท่วงทันเวลา และการโทรศัพท์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเชิงรุก แพทย์แผนไทยมีหน้าที่ตรวจรักษาและสั่งจ่าย น ้ามันกัญชาตามแนวทางการรักษาปัจจุบัน และแพทย์แผนปัจจุบันมีหน้าที่รับค าปรึกษาหรือรับส่งต่อผู้ป่วยกรณีผู้ป่วยมีโรค ซับซ้อน โรคร่วมหลายโรค หรือใช้ยาน ้ามันกัญชามาแล้ว 6 สัปดาห์แล้วแต่ไม่ได้ผล สรุป: ขั้นตอนและรูปแบบการบริบาลทาง เภสัชกรรมในคลินิกกัญชาฯ ที่ทีมสหวิชาชีพร่วมกันพัฒนาขึ้น ควรน าไปทดลองใช้จริงในผู้ป่วย โดยคาดว่าจะสามารถลด DRPs ทั้งระดับผู้ป่วยและระดับผู้สั่งใช้ยา ซึ่งน่าจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้น ้ามันกัญชาในการรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและความ ปลอดภัย 
     คำสำคัญ การบริบาลทางเภสัชกรรม สหวิชาชีพ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย การวิจัยเชิงปฏิบัติการระยะวางแผน 
ผู้เขียน
655150013-9 นาย ศักดิ์ชาย ขัติยา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0