2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการให้บริการตามรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับสหวิชาชีพใน คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ณ โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 พฤศจิกายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเภสัชกรรมไทย (Thai Journal of Pharmacy Practice ) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     ISBN/ISSN 1906-5574 
     ปีที่ 17 
     ฉบับที่
     เดือน ม.ค.-มี.ค. พ.ศ. 2568
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2568 
     หน้า 1-14 
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อวัดผลลัพธ์ของการให้บริการตามรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับสหวิชาชีพ (multidiscipli- nary pharmaceutical care model: MPCM) ณ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี (คลินิกกัญชาฯ) วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ต่อเนื่องจากระยะวางแผน การศึกษาประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1. ระยะปฏิบัติการ โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาจากการใช้ยา (drug related problems: DRPs) ในผู้ป่วยนอกที่เข้ารับบริการในคลินิกกัญชาฯ อย่างต่อเนื่องจำนวน 120 คน โดยเป็นผู้ป่วยในกลุ่มที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกเรื้อรัง โรคไมเกรน โรคนอนไม่หลับ และโรคมะเร็ง ร้อยละ 30.8, 26.6, 17.5 และ 7.5 ตามลำดับ ต่อมาทดลองให้บริการตาม MPCM ที่ออกแบบจากระยะวางแผนในผู้ป่วย 3 เดือน 2. ระยะสังเกตการณ์เป็นการประเมินผลลัพธ์หลังการใช้ MPCM จากจำนวน DRPs เฉลี่ยที่เปลี่ยนแปลง และ 3. ระยะสะท้อนผลเป็นการใช้วิธีการสนทนากลุ่มในทีมสหวิชาชีพเพื่อสอบถามความเห็นต่อ MPCM ผลการศึกษา: จำนวน DRPs ทั้งหมดก่อนการนำ MPCM มาใช้เท่ากับ 81 ครั้ง หรือเฉลี่ย 0.68 ปัญหาต่อราย หลังการนำ MPCM มาใช้พบ DRPs ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเหลือ 10 ครั้งหรือเฉลี่ย 0.08 ปัญหาต่อราย (P=0.045) ทั้งก่อนและหลังการนำ MPCM มาใช้พบว่า DRPs ประเภทที่ส่งผลต่อความปลอดภัยมากกว่าประเภทที่ส่งผลต่อการรักษา สาเหตุของ DRPs ที่พบมากที่สุด คือ พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยไม่เหมาะสม ซึ่งพบว่ามีจำนวนลดลงจาก 44 ครั้งเหลือ 4 ครั้ง (ลดลงร้อยละ 90.9) หลังจากนำ MPCM มาใช้ ทั้งนี้ในช่วงก่อนนำ MPCM มาใช้ เภสัชกรแก้ไข DRPs ด้วยความพยายาม 81 ครั้ง โดยเป็นผู้ประสานงานระหว่างแพทย์ พยาบาล เภสัชกรท่านอื่น ๆ ทั้งในและนอกโรงพยาบาล รวมถึงผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย มีการยอมรับการแก้ไขปัญหาจำนวน 77 ปัญหา (ร้อยละ 95.0) ผู้ป่วย 105 ราย (ร้อยละ 87.5) มีผลการรักษาที่ดีขึ้นภายหลังจากการนำ MPCM มาใช้ ส่วนในขั้นตอนสะท้อนผล ทีมสหวิชาชีพเห็นตรงกันว่า MPCM ที่ร่วมกันออกแบบเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย และทำให้ระบบงานมีคุณภาพมากขึ้นและเห็นควรใช้ต่อไป สรุป: ขั้นตอนการบริการตาม MPCM ในคลินิกกัญชาฯ ลด DRPs ทั้งระดับผู้ป่วยและระดับผู้สั่งใช้ยา โดยเภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการค้นหา ป้องกัน และแก้ไข DRPs ร่วมกับทีมสหวิชาชีพและผู้ป่วย ส่งผลให้ผลการรักษาดีขึ้นและผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการใช้ยามากขึ้น จึงควรนำ MPCM ไปปรับใช้ในคลินิกกัญชาฯ ต่อไป  
     คำสำคัญ การบริบาลทางเภสัชกรรม สหวิชาชีพ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 
ผู้เขียน
655150013-9 นาย ศักดิ์ชาย ขัติยา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0