ชื่อบทความ |
อัตรารอดชีพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลแก้งสนามนาง อ.แก้งสนามนาง จ.นครราชสีมา |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
25 ธันวาคม 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
ศรีนครินทร์เวชสาร |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
ฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
2821 9724 (Online) |
ปีที่ |
38 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
กรกฎาคม - สิงหาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
338-346 |
บทคัดย่อ |
หลักการและวัตถุประสงค์: การเปรียบเทียบอัตรารอดชีพโรคหลอดเลือดสมองแต่ละชนิดยังมีการศึกษาน้อย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตรารอดชีพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำแนกตามชนิดและอัตรารอดชีพที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา retrospective cohort study ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (2554 – 2564) ติดตามผู้ป่วยทุกราย จนกระทั่งทราบสถานะสุดท้าย (2565) 629 ราย วิเคราะห์อัตรารอดชีพโดยวิธี Kaplan-Meier สถิติทดสอบอัตรารอดชีพระหว่างกลุ่มโดย log-rank test หาความเสี่ยงสัมพัทธ์ (hazard ratio) ของการเสียชีวิตโดย Cox regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 629 ราย เสียชีวิต 277 ราย คิดเป็นอัตราเสียชีวิต 14.00 ต่อ 100 ราย/ปี (95%CI; 12.00 - 16.00) ค่ามัธยฐานการรอดชีพ 6.6 ปี (95%CI: 5.38 - 8.09) อัตรารอดชีพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังการวินิจฉัยในระยะเวลา 11 ปี ร้อยละ 28.0 (95%CI: 19.00 - 38.00 ปี) ชนิดสมองขาดเลือด (ischemic stroke; IS) และชนิดเลือดออกในสมอง (hemorrhagic stroke; HS) พบอัตรารอดชีพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดย HS มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็น 1.27 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับ IS (adj HR = 1.27, 95%CI: 0.99 - 1.61, p = 0.058)
สรุป: อัตรารอดชีพจำแนกตามชนิดไม่แตกต่างกันและอัตรารอดชีพยังต่ำ |
คำสำคัญ |
โรคหลอดเลือดสมอง, อัตรารอดชีพ, สมองขาดเลือด, เลือดออกในสมอง |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|