2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของนักเรียนในห้องเรียนออนไลน์ โดยใช้ Convolutional Neural Networks (CNN) 
Date of Acceptance 26 December 2023 
Journal
     Title of Journal วารสารงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ โดยสมาคม ECTI  
     Standard TCI 
     Institute of Journal สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (ECTI Association) 
     ISBN/ISSN 2773-918X 
     Volume
     Issue
     Month กันยายน - ธันวาคม
     Year of Publication 2023 
     Page 39-52 
     Abstract การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลกระทบในภาคการศึกษา เช่น การเรียนจาก ห้องเรียนปกติสู่ห้องเรียนออนไลน์ ทำให้การติดตามการมีส่วนร่วมในห้องเรียนออนไลน์เป็นไปด้วยความ ยากลำบาก นอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้เรียนแล้ว กรณีที่ร้ายแรงที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นคือการ หลุดจากการศึกษาของผู้เรียน เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบถึงการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและสามารถปรับเปลี่ยน การการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสถาพแวดล้อมในการเรียนออนไลน์ บทความนี้จึงได้นำเสนอการพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ในการตรวจสอบการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ออนไลน์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Networks : CNN) ที่ใช้ใบหน้าของผู้เรียนในการตรวจจับอารมณ์และเชื่อมโยงเป็นระดับการมีส่วนร่วม 3 ระดับ คือ ไม่มีส่วนร่วม มีส่วนร่วมระดับปกติ มีส่วนร่วมระดับสูง ซึ่งได้ทำการปรับแต่งพารามิเตอร์ได้แก่ Learning Rate, Batch Size, Optimizer รวมทั้งการปรับแต่งในชั้นของการทำ Feature extraction และชั้นของ การทำ Fully connected ซึ่งได้นำโครงสร้างแบบจำลองจากเว็บไซต์ Keras (Simple MNIST convnet) เป็นโครงสร้างแบบจำลองตั้งต้น ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ การปรับแต่ง โครงสร้างชั้นการสกัดคุณลักษณะเด่นของภาพ (Feature extraction) กลุ่มที่ 2 คือ การทดลองแต่ละ พารามิเตอร์ ได้แก่ Learning Rate (LR), Batch Size (BZ), Optimizer (OTM), Fully connected (FC) กลุ่มที่ 3 คือ การทดลองจับคู่ 2 พารามิเตอร์ ซึ่งได้ทดลองกลุ่มที่ 1-3 ตามลำดับ และเป็นการนำแบบ จำลองจากกลุ่มการทดลองก่อนหน้าที่ได้ผลดีที่สุดมาทำการเพิ่มพารามิเตอร์ต่อในกลุ่มการทดลองถัดไป ผลการประเมินประสิทธิภาพแบบจำลองการใช้และการปรับแต่ง Optimizer Ranger ร่วมกับ Fully Connected (FC) จำนวนชั้น 2 ชั้นคือ 50 และ 100 ให้ประสิทธิภาพดีที่สุดคือ 82.30 (Accuracy) และค่าความสูญเสียคือ 0.46 (Loss) ซึ่งมีค่าความแม่นยำเพิ่มขึ้น 16.51 และมีค่าความสูญเสียลดลง 0.31 เมื่อเทียบกับแบบจำลองตั้งต้น 
     Keyword การตรวจจับการมีส่วนร่วม,การจดจำอารมณ์,การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  
Author
635040095-2 Mr. PONGSATHORN CHERDSOM [Main Author]
Engineering Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0