2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาเทคนิคพื้นผิวขยายสัญญาณรามานสำหรับวัดตัวอย่างซีรั่มจากซับสเตรตอนุภาคซิลเวอร์นาโนต้นทุนต่ำ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 พฤศจิกายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น / Graduate School, Khon Kaen University 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า  
     บทคัดย่อ วัสดุซับสเตรตสำหรับนำมาใช้ตรวจวัดตัวอย่างชีวภาพด้วยเทคนิคพื้นผิวขยายสัญญาณรามานมีความต้องการเป็นอย่างมากในปัจจุบัน แต่มักมีขั้นตอนในการผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อนจึงทำให้มีราคาที่ค่อนข้างสูง งานวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบและพัฒนาซับสเตรตสำหรับนำมาตรวจวัดตัวอย่างซีรั่มคนที่สามารถเตรียมได้ง่ายจากวัสดุที่ผลิตในอุตสาหกรรมทั่วไปและมีต้นทุนต่ำทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ แผ่นกระดาษกรอง แผ่นบลูเรย์ หมึกกราฟีนและเทปอะลูมิเนียม ร่วมกับอนุภาคซิลเวอร์นาโนคอลลอยด์ขนาด 60 นาโนเมตร ในการขยายสัญญาณรามาน โดยทำการตรวจวัดที่ความยาวคลื่นเลเซอร์ 785 นาโนเมตร เป็นเวลา 10 วินาที จากการทดลองพบว่าเทปอะลูมิเนียมมีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการนำมาทำเป็นวัสดุซับสเตรต เนื่องจากทำให้เกิดการขยายสัญญาณรามานมากที่สุด สัญญาณ SERS ที่พบมีความถูกต้องสอดคล้องกับงานวิจัยอื่นๆ รวมถึงสัญญาณซีรั่มมีความแปรปรวนน้อยและไม่ถูกรบกวนจากสัญญาณเฉพาะตัวของวัสดุที่นำมาทำซับสเตรต และพบว่าความเข้มข้นของซิลเวอร์นาโนคอลลอยด์ที่เหมาะสมมีค่า 1.85 x "10-2" โมลาร์ นอกจากนี้ยังตรวจพบสารชีวโมเลกุลของตัวอย่างซีรั่มที่ตำแหน่งพีค 494 cm-1 (แอลอาจีนีน) 634 cm-1 (ไทโรซีน) 724 cm-1 (อะดีนีน) 884 cm-1 (ทริปโตเฟน) 1,004 cm-1 (ฟีนิลอะลานีน) และ 1,334 cm-1 (กรดนิวคลิอิก) ทั้งนี้ค่ากำลังในการขยายสัญญาณรามานที่ได้จากการใช้พื้นผิวซับสเตรตชนิดนี้ในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างคริสตัลไวโอเลตและซีรั่มมีค่าสูงสุดเท่ากับ 4,096 (พีค 1,618 cm-1) และ 164 (พีค 634 cm-1) เท่า ตามลำดับ งานวิจัยนี้พัฒนาต้นแบบซับสเตรตราคาถูกซึ่งเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด โดยมีประสิทธิภาพที่ดีในการขยายสัญญาณรามานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างซีรั่มด้วยเทคนิคพื้นผิวขยายสัญญาณรามานในการวินิจฉัยโรคต่อไปได้ รวมถึงสามารถนำไปต่อยอดในทางการแพทย์สำหรับตรวจคัดกรองโรคจากตัวอย่างซีรั่มและนำมาพัฒนาใช้ร่วมกับวิธีการเรียนรู้ของเครื่องในการวินิจฉัยคัดแยกโรคจากสารชีวโมเลกุล 
     คำสำคัญ เทคนิคพื้นผิวขยายสัญญาณรามาน เซอร์สซับสเตรต การตรวจซีรั่ม 
ผู้เขียน
635040045-7 น.ส. ศศิกาญจน์ บวรโมทย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0