2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การปรับตัวของร้านค้าปลีกในเขตพื้นที่ย่านการค้าเก่า กรณีศึกษา : ย่านการค้าเก่า เมืองเก่านครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 พฤศจิกายน 2567 
วารสาร
     ชื่อวารสาร โฮมภูมิ ครั้งที่ 5 
     มาตรฐานของวารสาร SCOPUS 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN 978-616-438-868-0 
     ปีที่ 2566 
     ฉบับที่
     เดือน พฤศจิกายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า 223-238 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานเมือง และศึกษาปัจจัยความอยู่รอดของร้านค้าปลีกในพื้นที่ศึกษา คือ เขตย่านการค้าเก่า เมืองเก่าจังหวัดนครราชสีมา การศึกษาประยุกต์แนวคิดการปรับตัวของ Magali Reghezza-Zitt และ Samuel Rufat (2019) เป็นกรอบทฤษฎีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากการทบทวนวรรณกรรม เอกสารรายงานและข้อมูลจากหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บแบบสอบถามประกอบกับการสังเกตการณ์ และการสำรวจพื้นที่ภาคสนามแล้วนำมาจัดทำเป็นแผนที่ทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล พบผลการศึกษาที่สำคัญ 2 เรื่องได้แก่ (1) จากการรวบรวมข้อมูลของระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบด้านนโยบายการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานเมือง โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.017 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ผลกระทบด้านโครงสร้างพื้นฐานเมือง มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.65 และผลกระทบด้านนโยบายการพัฒนาเมือง มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.58 (2) ปัจจัยความอยู่รอดของร้านค้าปลีกในเขตย่านการค้าเก่า เมืองเก่านครราชสีมา ปัจจัยด้านนโยบายการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานเมือง พบว่า 1) ร้านค้าปลีกต้องเผชิญกับการแข่งขันจากหลากหลายแหล่ง ทั้งร้านค้าปลีกสมัยใหม่และแบบดั้งเดิม เพื่อให้เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันเช่นนี้ ร้านค้าปลีกเหล่านี้จำเป็นต้องปรับตัวและค้นหาวิธีที่จะทำให้ตัวเองแตกต่าง 2) พฤติกรรมผู้บริโภคอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการมากกว่าราคา 3)การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านถนนและการขนส่งสาธารณะ มีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกในการคมนาคมของผู้บริโภค 4) เมืองเก่านครราชสีมามีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นนี้จะนำมาซึ่งประโยชน์มากมายสำหรับสถานประกอบการร้านค้าปลีกที่ตั้งอยู่ในเมืองเก่านครราชสีมา  
     คำสำคัญ ร้านค้าปลีก ผลกระทบ นโยบายและโครงสร้างพื้นฐาน การปรับตัว  
ผู้เขียน
645200012-3 น.ส. ศิตา ศิลา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0