2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยในการคัดแยกขยะติดเชื้อ กรณีศึกษา: พื้นที่เขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 
Date of Distribution 22 November 2023 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ โฮมภูมิ ครั้ง 5 โฮมดี มีแฮง 
     Organiser คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  
     Conference Place มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 23 November 2023 
     To 23 November 2023 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue 978-616-438-868-0 
     Page 70-88 
     Editors/edition/publisher ขยะติดเชื้อ หน้ากากอนามัย ชุดตรวจ ATK พฤติกรรมการคัดแยกขยะ ปัจจัยในการคัดแยกขยะ  
     Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยในการคัดแยกขยะติดเชื้อของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งพื้นที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 4 เขตการปกครอง ได้แก่ เขตที่ 1 บึงทุ่งสร้าง เขตที่ 2 ศรีจันทร์ เขตที่ 3 เมืองเก่า เขตที่ 4 หนองแวง การศึกษานี้ได้ทำการเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารรายงานและข้อมูลจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมและปัจจัยในการคัดแยกขยะ จากประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีการคัดแยกขยะติดเชื้อ ก่อนนำทิ้ง คิดเป็น 35.8 % และ ไม่มีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง คิดเป็น 64.3 % ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ผลการศึกษาพฤติกรรมการคัดแยกขยะติดเชื้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ (1) ช่วงก่อนการเกิดโรคระบาดโควิด (ช่วงย้อนหลังจาก ปี พ.ศ.2562) (2) ช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาดโควิด (ช่วง ปี พ.ศ. 2562 - พ.ศ.2565) และ (3) ช่วงหลังจากเกิดโรคระบาด (ช่วงปี พ.ศ.2565 เป็นต้นไป) ) พบว่า ช่วงก่อนเกิดโรคระบาดมีการคัดแยกขยะติดเชื้อใส่ถุงแดงก่อนนำไปทิ้งคิดเป็นร้อยละ 16.8 เท่านั้น แต่ในช่วงที่เกิดโรคระบาด มีการคัดแยกขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 27.3 และลดลงเป็น ร้อยละ 21.7 หลังเกิดโรคระบาด ส่วนทางด้านปัจจัยในการคัดแยกขยะติดเชื้อ พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนมีความรู้ในเรื่องชนิดประเภทของขยะติดเชื้อที่ควรคัดแยกออกจากขยะประเภทอื่น ด้านทัศนคติ ประชาชนไม่ได้คิดว่าการแยกขยะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อน ด้านปัจจัยเอื้อ พบว่า ภาชนะรองรับในการคัดแยกขยะติดเชื้อมีไม่เพียงพอและสถานที่ทิ้งขยะติดเชื้ออยู่ห่างไกลจากชุมชน ทำให้ประชาชนไม่คัดแยกและทิ้งขยะติดเชื้อรวมกับขยะทั่วไป โดยข้อมูลจากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานเทศบาลนครขอนแก่นจะสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้กำหนดแนวทางการจัดการและส่งเสริมการคัดแยกขยะติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพต่อไป  
Author
645200004-2 Miss KANYA WARIN [Main Author]
Architecture Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum