ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การศึกษาเปรียบเทียบรอยซึมเล็กระหว่างสารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดเรซินและไจโอเมอร์: การศึกษานำร่อง |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
25 ธันวาคม 2566 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 26 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
สถานที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
25 ธันวาคม 2566 |
ถึง |
25 ธันวาคม 2566 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
1 |
Issue (เล่มที่) |
12 |
หน้าที่พิมพ์ |
18 |
Editors/edition/publisher |
Professor Dr.Kittisak JERMSITTIPARSERT |
บทคัดย่อ |
การศึกษานำร่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยร้อยละการเกิดรอยซึมเล็กของสารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดไจโอเมอร์กับสารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดเรซิน โดยทำการศึกษาในฟันกรามน้อยบน จำนวน 10 ซี่ สุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 สารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดเรซินร่วมกับการใช้กรดฟอสฟอริก ความเข้มข้นร้อยละ 37 และ กลุ่มที่ 2 สารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดไจโอเมอร์ร่วมกับการใช้เซลฟ์เอทช์ไพรเมอร์ โดยกลุ่มตัวอย่างถูกจำลองการใช้งานในช่องปากด้วยเครื่องเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิชนิดเป็นจังหวะ ที่อุณหภูมิ 5 และ 55 องศาเซลเซียส จำนวน 5,000 รอบ จากนั้นนำกลุ่มตัวอย่างแช่ในสารละลายเมทิลีน บลู ความเข้มข้นร้อยละ 5 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และนำไปตัดในแนวด้านแก้มและด้านเพดาน เพื่อให้ได้ชิ้นงานตัวอย่างจำนวน 2 ชิ้น จากนั้นนำไปวิเคราะห์การเกิดรอยซึมเล็กภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ ผลการศึกษาพบว่า สารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดไจโอเมอร์มีค่าเฉลี่ยร้อยละการเกิดรอยซึมเล็กมากกว่าสารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดเรซินอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.151) |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|