2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการฝึกหายใจช้าด้วยดนตรีบําบัดต่อระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วนที่แผนกฉุกเฉิน: การศึกษานําร่อง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ“เทคโนโลยีทางสุขภาพและนวัตกรรมทางการพยาบาล: แนวโน้มใหม่ในการดูแลภาวะฉุกเฉินบาดเจ็บและวิกฤต” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ศูนย์วิจัยระบบการป้องกันและดูแลผู้บาดเจ็บและฉุกเฉิน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมคริสตัลหาดใหญ่  
     จังหวัด/รัฐ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 พฤศจิกายน 2566 
     ถึง 14 พฤศจิกายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2567 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 94-104 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการฝึกหายใจช้าโดยใช้ดนตรีบำบัดเพื่อลดความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วนที่แผนกฉุกเฉิน วิธีการ: การทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมทาการศึกษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วนที่เข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลยางสีสุราช จำนวน 30 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองหรือควบคุมกลุ่มละ 15 ราย กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตาม มาตรฐานร่วมกับฝึกหายใจช้า 6 ครั้งต่อนาทีด้วยดนตรีบำบัดต่อเนื่อง 15 นาที จากนั้นฟังดนตรีเพียงอย่างเดียวต่อจนครบ 30 นาที และนอนพักบนเตียงจนครบ 1 ชั่วโมง กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตรฐานและนอนพักจนครบ 1 ชั่วโมง ทั้ง 2 กลุ่ม จะได้รับการวัดความดันโลหิตก่อนเข้าร่วมวิจัยและหลังร่วมโครงการวิจัยนาทีที่ 15, 30, 45 และ 60 การวิจัยได้รับการพิจารณาและอนุญาตเก็บข้อมูลจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์โรงพยาบาลยางสีสุราช ผลการศึกษา: อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มมีระดับความดันโลหิตลดลงตั้งแต่นาทีที่ 15 และลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวในกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญนาทีที่ 15, 30, และ 60 แต่อย่างไรก็ตามค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม สรุป: ผลของการศึกษาพบว่าการฝึกหายใจช้าด้วยดนตรีบำบัดช่วยลดความดันโลหิตในขณะหัวใจบีบตัวในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วนที่ห้องฉุกเฉินเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับการรับประทานยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษาโดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะส่วนปลาย ดังนั้นควรทำการวิจัยเพื่อยืนยันผลการศึกษาและนำไปใช้ต่อไป  
ผู้เขียน
645060041-4 นาย สุทธินนท์ เสนารินทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล ฺBest oral presentation 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล ศูนย์วิจัยระบบการป้องกันและดูแลผู้บาดเจ็บและฉุกเฉิน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 14 พฤศจิกายน 2566 
แนบไฟล์
Citation 0