2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน 
Date of Distribution 6 February 2024 
Conference
     Title of the Conference เทคโนโลยีทางสุขภาพและนวัตกรรมทางการพยาบาล: แนวโน้มใหม่ในการดูแลภาวะฉุกเฉินบาดเจ็บและวิกฤต 
     Organiser ศูนย์วิจัยระบบป้องกันและดูแลผู้บาดเจ็บและฉุกเฉิน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     Conference Place โรงแรมคริสตัลหาดใหญ่  
     Province/State จังหวัดสงขลา 
     Conference Date 13 November 2023 
     To 14 November 2023 
Proceeding Paper
     Volume 2567 
     Issue
     Page 141-150 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลบนคลินิก (CNPG) เพื่อป้องกันการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน วิธีการ: รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของไอโววา (IOWA model) ในการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ประเมินคุณภาพโดยการตรวจสอบดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) และแบบประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล (AGREE II) โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน นำแนวปฏิบัติฯ ไปทดลองใช้ ประเมินความเป็นไปได้ในผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ จากการใช้แนวปฏิบัติจำนวนกลุ่มละ 5 ราย ผลการศึกษา: จากการทบทวนและสังเคราะห์งานวิจัยจำนวน 23 เรื่อง แบ่งเป็น ระดับ 1a 4 เรื่อง, 1c 9 เรื่อง, 2a 2 เรื่อง, 3b 6 เรื่อง, 3c 1 เรื่อง และ 4b 1 เรื่อง (JBI, 2014) สร้างแนวปฏิบัติฯ ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ คือ 1) การเตรียมก่อนใส่ NIV มีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI=0.94) 2) การดูแลขณะใส่ NIV ระยะเวลา 48 ชั่วโมงแรก มีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI = 1.0) และ3) ระยะหย่า NIV มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI = 1.0) แนวปฏิบัติฯ มีคะแนน AGREE II ร้อยละ 82.92-86.66 ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่านแนะนำให้ใช้แนวปฏิบัติฯ นี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับการใส่ NIV ผลจากการศึกษาความเป็นไปได้ พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 5 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 80 อายุเฉลี่ย 81.6 ปี (SD=12.42) จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยความเสี่ยงต่ำร้อยละ 80 มีคะแนน NIV failure score เฉลี่ย 6.00 คะแนน (SD= 3.31) มีโรคร่วมมากกว่า 2 โรค ไม่เกิดความล้มเหลวในการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อในระยะ 48 ชั่วโมงแรก มีค่าเฉลี่ยของระดับการแลกเปลี่ยนแก๊ส (SpO2/FiO2 ratio) ในชั่วโมงที่ 1 และ 24 = 162.50±21.50 และ 322.35±36.47 ตามลำดับ สรุป: แนวปฏิบัติฯ ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพที่น่าพึงพอใจ มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เพื่อป้องกันการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน นอกจากนี้ควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติต่อไป  
Author
645060002-4 Miss THIKAMPORN FAISAKKHWA [Main Author]
Nursing Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum