2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลการทดสอบโปรแกรมส่งเสริมการลุกจากเตียงโดยเร็วต่ออาการปวดหลัง และอาการปัสสาวะลำบากในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงฟีมอรอล  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 พฤศจิกายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ เทคโนโลยีทางสุขภาพและนวัตกรรมทางการพยาบาล: แนวโน้มใหม่ในการดูแลภาวะฉุกเฉินบาดเจ็บและวิกฤต 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ศูนย์วิจัยระบบการป้องกันและดูแลผู้บาดเจ็บและฉุกเฉิน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมคริสตัลหาดใหญ่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดสงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 พฤศจิกายน 2566 
     ถึง 14 พฤศจิกายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2567 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 105-115 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมส่งเสริมการลุกจากเตียงโดยเร็วต่ออาการปวดหลังและอาการปัสสาวะลำบากในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงฟีมอรอล วิธีการ ทดสอบโปรแกรมโดยใช้การศึกษากึ่งทดลอง (quasi-experimental design) วัดผลหลังทดลอง (Post-test) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงฟีมอรอล จำนวน 5 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการลุกจากเตียงโดยเร็วตามขั้นตอน ดังนี้ 1) เตรียมความพร้อมก่อนเข้าโปรแกรม 2) ป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด 3) ส่งเสริมการลุกจากเตียงโดยเร็ว และ 4) ประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่ามัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5 ราย เป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ 3 ราย และกลุ่มเสี่ยงสูง 2 ราย สามารถลุกจากเตียงและเดินข้างเตียงได้ในชั่วโมงที่ 4 คะแนนเฉลี่ยอาการปวดหลังในชั่วโมงที่ 1 = 47 คะแนน (SD = 12.04) อยู่ในระดับปานกลาง และคะแนนเฉลี่ยอาการปวดหลังในชั่วโมงที่ 6 ลดลง = 9 คะแนน (SD = 10.24) อยู่ในระดับต่ำ และมีคะแนนเฉลี่ยอาการปัสสาวะลำบาก = 2.3 คะแนน (SD = 0.45) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ โดยกลุ่มตัวอย่างไม่เกิดภาวะเลือดออก หรือก้อนเลือดใต้ผิวหนัง  
ผู้เขียน
645060007-4 น.ส. พัชราภรณ์ บูรวัตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0