2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองไทยลูกผสมเคเคยูวัน (KKU1) ซึ่งใช้ไก่สายพ่อพันธุ์ที่แตกต่างกัน. 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9. 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนา 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 16 กุมภาพันธ์ 2567 
     ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2567 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่) 49 ฉบับพิเศษ 
     หน้าที่พิมพ์ 482-486 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ไก่พื้นเมืองไทยลูกผสม หรือมีชื่อเรียกที่รู้จักคือไก่เคเคยูวัน (KKU1) เป็นไก่ที่ถูกพัฒนาพันขึ้นโดยศูนย์เครือข่ายวิจัยด้านการ ปรับปรุงพันธุ์และโอมิกส์ทางสัตว์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันมีความต้องการไก่ KKU1 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไร ก็ตามข้อจำกัดด้านหนึ่งของการผลิตนั่นคือ จำนวนไก่พ่อพันธุ์ที่นำมาผสมมีไม่เพียงพอและคุณภาพน้ำเชื้อไม่สม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าวการพัฒนาไก่สายพ่อพันธุ์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อวิเคราะห์ผลทางพันธุกรรมเบื้องต้นสำหรับพ่อพันธุ์ไก่ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ดังนั้นวัตถุประสงค์งานวิจัยในครั้งนี้จึงเพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตในไก่ KKU1 ที่เกิดจากคู่ผสม ระหว่างพ่อพันธุ์ทางการค้า (PS-broiler) กับแม่พันธุ์ไข่มุกอีสาน1 (PS x KM1) และที่เกิดจากคู่ผสมระหว่างพ่อพันธุ์ไก่ไข่มุกอีสาน2 กับแม่ พันธุ์ไก่ไข่มุกอีสาน1 (KM2 x KM1) ซึ่งผลการศึกษาพบว่าไก่KKU1 ที่เกิดจากคู่ผสม KM2 x KM1 มีค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะการ เจริญเติบโตอยู่ในช่วง 0.13-0.98 ในขณะที่ไก่ KKU1 ที่เกิดจากคู่ผสม PS x KM1 มีค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตอยู่ในช่วง 0.23-0.88 สำหรับค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมพบว่าหากต้องการคัดเลือกให้มีลักษณะการเจริญเติบโตที่ดีรวมทั้งมีความยาวรอบอกดี นักวิจัย สามารถคัดเลือกไก่ได้ตั้งแต่อายุ 2 สัปดาห์ในทั้งสองคู่ผสม และการคัดเลือกการเจริญเติบโตร่วมกับความยาวรอบอก จะให้ผลที่ดีกว่าการ คัดเลือกการเจริญเติบโตร่วมกับความกว้างรอบอก นอกจากนี้ค่าพารามิเตอร์ที่วิเคราะห์ได้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าการใช้พ่อพันธุ์ไข่มุก อีสาน 2 ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ยังมีศักยภาพทางพันธุกรรมต่ำกว่าไก่พ่อพันธุ์ทางการค้า 
ผู้เขียน
635030014-4 น.ส. วีรยา ตันติยาสวัสดิกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ
635030012-8 นาย กฤษฎี ชมชื่น
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ
635030044-5 น.ส. มารวย พิมพ์ประเสริฐ
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัย(oral Presentation) ระดับดีมาก 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 2 กรกฎาคม 2564 
แนบไฟล์
Citation 0