2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของข้อในผู้ป่วยวิกฤต 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 พฤศจิกายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ "เทคโนโลยีทางสุขภาพและนวัตกรรมทางการพยาบาล:แนวโน้มใหม่ในการดูแลภาวะฉุกเฉินบาดเจ็บและวิกฤต" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ศูนย์วิจัยระบบการป้องกันและดูแลผู้บาดเจ็บและฉุกเฉิน คณะยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมคริสตัสหาดใหญ่ 
     จังหวัด/รัฐ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 พฤศจิกายน 2566 
     ถึง 14 พฤศจิกายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2567 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 194-208 
     Editors/edition/publisher ผศ.ดร.จันทรา พรหมน้อย,พว.นิภาวรรณ ชามทอง 
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของข้อต่อผลลัพธ์ที่คัดสรรในผู้ป่วยวิกฤต วิธีการ ใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของ The Iowa Model of Evidence-Based Practice to Promote Quality Care ประเมินคุณภาพโดยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและประเมิน AGREE II จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน นำไปใช้ทดลองใช้ในผู้ป่วยจำนวน 10 ราย และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 2 ราย ผลการศึกษา: ได้งานวิจัยจำนวน 20 เรื่อง นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์สร้างเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) การประเมินความพร้อมก่อนการปฏิบัติ 2) การดูแลเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของข้อ และ 3) การประเมินผลลัพธ์ แนวปฏิบัติฯ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่า CVI = 1 และมีคุณภาพตามเกณฑ์ AGREE II ร้อยละ 88.0 ผลการนำไปใช้ทดลองใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย 10 ราย พบว่าก่อนการได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเท่ากับ 1.8 (SD=1.03) ระดับการเคลื่อนไหวเท่ากับ 0 (SD=0) และไม่เกิดภาวะข้อติดแข็ง ภายหลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเท่ากับ 4.4 (SD=0.52) ระดับการเคลื่อนไหวเท่ากับ 5.2 (SD=1.03) และไม่เกิดภาวะข้อติดแข็ง พยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติ 2 ราย ให้ความคิดเห็นว่าแนวปฏิบัติฯมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับมาก สรุป: แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของข้อในผู้ป่วยวิกฤต นอกจากนี้ควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติการพยาบาล  
ผู้เขียน
645060040-6 น.ส. ศิริวรรณ โคตุระพันธ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0