ชื่อบทความ |
ความต้องการของครอบครัวที่มีผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
29 กุมภาพันธ์ 2567 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารพยาบาลศาสตร์ และสุขภาพ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
2822-1133 (online) |
ปีที่ |
47 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
กรกฎาคม-กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2567 |
หน้า |
1-16 |
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างเป็นครอบครัวของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่อาศัยอยู่ในอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 27 คน สุ่มตัวอย่างแบบต่อเนื่องตามเกณฑ์การคัดเข้า โดยเป็นตัวแทนครอบครัวและเป็นผู้ดูแลหลักซึ่งทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของครอบครัวอย่างต่อเนื่องในระยะสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและบูรณาการกรอบแนวคิดความต้องการของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตของ Gaglione's (1984) ร่วมกับแนวคิดการดูแลแบบองค์รวม เครื่องมือนี้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คนและได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเป็น 0.95 ทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.952 ดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2566
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของเฉลี่ยครอบครัวทั้งความต้องการโดยรวม ความต้องการความช่วยเหลือในการดูแลผู้ป่วย และความต้องการด้านการช่วยเหลือดูแลสำหรับสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลักโดยอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการความช่วยเหลือในการดูแลผู้ป่วยในระดับสูงมี 6 ประเด็น ได้แก่ 1) การมีคนช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉิน/ภาวะที่ต้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในการดูแลผู้ป่วย 2) การทราบความก้าวหน้าของผู้ป่วย โรค/การเจ็บป่วยขณะให้การดูแล 3) การให้ความช่วยเหลือในการให้ยาเพื่อควบคุม/บรรเทาอาการหอบหืดของผู้ป่วย 4) การรู้/เข้าใจอาการของผู้ป่วย 5) การให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ในการส่งออกซิเจนให้กับผู้ป่วย และ 6) การให้ความช่วยเหลือในการให้ยาเพื่อควบคุม/ความเจ็บปวดของผู้ป่วย ในขณะที่ความต้องการด้านการช่วยเหลือดูแลสำหรับสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลักในระดับสูง คือ การช่วยให้มีเวลาดูแลสุขภาพของตนเอง
ความต้องการของครอบครัวในมิติองค์รวมพบว่า 1) ด้านร่างกาย ต้องการให้สมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ผลัดกันช่วยดูแล และต้องการการช่วยเหลือดูแลจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกครอบครัว เช่น เพื่อนบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2) ด้านจิตใจ ต้องการปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วย 3) ด้านเศรษฐกิจและสังคม ต้องการความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และบางครอบครัวระบุว่าไม่ต้องการให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมดูแลเนื่องจากบางครั้งคำพูดหรือคำถามของผู้มาเยี่ยมทำให้เกิดความทุกข์ วิตกกังวล และเครียดมากขึ้น 4) ด้านจิตวิญญาณ ต้องการปฏิบัติตามความปรารถนาทางจิตวิญญาณของผู้ป่วย
ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของครอบครัวซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว
|
คำสำคัญ |
ความต้องการ, ครอบครัว, ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, การดูแลสุขภาพที่บ้าน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|