2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ความสัมพันธ์ระหว่างการมีกิจกรรมทางสังคมกับความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี The relationship between social activity and risk of dementia in older persons in community, Nonghan Sub District, Udonthani Province.  
Date of Acceptance 29 February 2024 
Journal
     Title of Journal วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ (Journal of Nursing Science and Health) 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 103-0096 
     Volume 47 
     Issue
     Month ตุลาคม-ธันวาคม
     Year of Publication 2024 
     Page 1-15 
     Abstract บทคัดย่อ การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีกิจกรรมทางสังคมกับความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำนวน 240 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน 3) แบบประเมินสมรรถภาพสมอง (The Mental State Examination: MSET-10) ฉบับภาษาไทย 4) แบบประเมินการรับรู้และความเข้าใจ (The Montreal Cognitive Assessment: MoCA) ฉบับภาษาไทย และ 5) แบบสัมภาษณ์การมีกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและกรอบการพัฒนาเครื่องมือวิจัย เครื่องมือนี้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content validity index: CVI) เท่ากับ 1.00 และหาค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.799 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน (The Spearman Rank Correlation Coefficient; rs) ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการมีกิจกรรมทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.233, p<.001) (2) การมีกิจกรรมทางสังคมประเภทที่ 1, 2 และ 3 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากกับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.201, p=<.002; r=0.181, p=0.005; และ r=0.133, p<.040) ตามลำดับ  
     Keyword การมีกิจกรรมทางสังคม ชุมชน ผู้สูงอายุ ภาวะสมองเสื่อม 
Author
625060027-6 Miss PACHAREEPORN SONGTIN [Main Author]
Nursing Master's Degree

Reviewing Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0